การจัดตั้งบริษัทในเวียดนาม

การจัดตั้งบริษัทในเวียดนาม

วันที่นำเข้าข้อมูล 6 พ.ย. 2555

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 5,435 view

การจัดตั้งบริษัทในเวียดนาม


การ ลงทุนในเวียดนาม นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบ การไทย อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการควรประเมินศักยภาพของตนเองทั้งในด้านความเชี่ยวชาญในธุรกิจ

ความ สามารถในด้านการตลาด การพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากร ประสบการณ์ในการลงทุนต่างประเทศ และที่สำคัญคือ วิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้เนื่องจาก สภาพแวดล้อมการลงทุนในต่างประเทศจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการลงทุนในประเทศ การประกอบธุรกิจต้องได้มาตรฐานสากลผู้ประกอบการมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและเป็นไปเพื่อประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่าย

ขั้นตอนการขออนุมัติจัดตั้งบริษัท

1) ศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ นักลงทุนควรศึกษารายละเอียดประเภทกิจการที่สนใจ วัตถุประสงค์ของการเข้าไปลงทุนในเวียดนาม เช่น ต้องการทรัพยากร ตลาด หรือแรงงาน เป็นต้น เพื่อเลือกจังหวัดที่เหมาะสมในการลงทุน รวมถึงการศึกษาข้อมูลทั่วไปของเวียดนาม และ กฎระเบียบในการลงทุนซึ่งต้องมีการติดตามอยู่เสมอ

2) การเดินทางสารวจด้วยตนเอง นักลงทุนควรเดินทางไปสารวจลู่ทางการลงทุนด้วยตนเอง เพื่อให้เห็นสภาพแวดล้อมจริงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างพื้นฐาน ตลาดแรงงาน นิคมอุตสาหกรรม เพื่อประกอบการพิจารณาเลือกทาเลที่ตั้งที่เหมาะสมสาหรับโครงการนั้น รวมทั้งเป็นโอกาสได้ทาความรู้จักกับผู้แทนหน่วยราชการและนักธุรกิจของเวียดนาม นอกจากนี้ ควรติดต่อบริษัทที่ปรึกษาในเวียดนามเพื่อขอคาแนะนาในการลงทุน โดยควรเลือกบริษัทที่มีประสบการณ์และมีความน่าเชื่อถือด้วย

แล้ว นักลงทุนควรศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการอย่างละเอียด กาหนดเป้าหมายการลงทุนที่ชัดเจน พื้นที่ที่ต้องการลงทุน วิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุน และสามารถใช้เป็นคู่มือในการบริหาร โครงการเมื่อมีการลงทุนจริงได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุน ในกรณีที่ผลตอบแทนต่ากว่าเกณฑ์ที่ศึกษาไว้

4) เลือกรูปแบบในการลงทุน กฎหมายของเวียดนามอนุญาตให้ต่างชาติลงทุนได้ทั้งในลักษณะสัญญาร่วมลงทุน กับนักธุรกิจเวียดนาม (Business Co-operation Contract) กิจการร่วมทุนกับนักธุรกิจเวียดนาม (Joint Venture) หรือนักลงทุนต่างชาติลงทุนเองทั้งหมด (Wholly Foreign–own Enterprise) หรือการทาสัญญากับภาครัฐในกรณีการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ หากเป็นการลงทุนเองทั้งหมด นักลงทุนจะมีอิสระในการบริหารงานอย่างเต็มที่ แต่ในบางกิจการรัฐบาลเวียดนามยังไม่อนุญาตให้ต่างชาติลงทุนเองทั้งหมด โดยเฉพาะในสาขาบริการ เช่น ร้านอาหาร โรงแรม ในกรณีนี้ นักลงทุนต้องหาคู่สัญญาที่เป็นชาวเวียดนามและควรให้คู่สัญญามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์โครงการตั้งแต่ต้นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน

5) การขออนุญาตลงทุนในเวียดนาม หลังจากเลือกทาเลที่ตั้งโรงงาน ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและรูปแบบการลงทุนได้แล้ว ควรทาสรุปรายงานการจัดตั้งโครงการ (Proposal) ครอบคลุมประเด็นสาคัญเกี่ยวกับการดาเนินธุรกิจ วัตถุประสงค์ ที่ตั้งของโครงการ ลักษณะการลงทุน และผู้ร่วมทุนท้องถิ่น (ถ้ามี) เพื่อนาเสนอผู้มีอานาจอนุมัติโครงการ ซึ่งในปัจจุบันกาหนดว่าโครงการที่ตั้งอยู่นอกเขตนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตส่งเสริมการส่งออกDepartment of Planning and Investment (DPI) ของนครฮานอย และโฮจิมินห์ สามารถอนุมัติโครงการที่มีมูลค่า ไม่เกิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนจังหวัดอื่นๆ ไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หากเกินจากนี้ต้องขออนุมัติจากกระทรวงวางแผนและการลงทุน หรือ MPI (Ministry of Planning and Investment) ก่อน ส่วนโครงการที่ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมหรือ เขตส่งเสริมการส่งออก Board of Management (BOM) ของนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตส่งเสริมการส่งออกนั้น สามารถอนุมัติโครงการได้ไม่เกิน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หากเกินจากนั้นต้องขออนุมัติจาก MPI
อนึ่ง กระทรวงวางแผนและการลงทุนกาลังเสนอแผนการกระจายอานาจสู่ท้องถิ่นต่อรัฐบาลกลาง ซึ่งหากได้รับความเห็นชอบ DPI ของนครฮานอย และโฮจิมินห์ จะสามารถอนุมัติโครงการที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นคือไม่เกิน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจังหวัดอื่นๆ ไม่เกิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมกับจะขอให้ DPI สามารถอนุมัติโครงการลงทุนบางโครงการที่ปัจจุบันต้องขออนุมัติจากนายกรัฐมนตรีโดยตรง เช่น บริการสุขภาพ การศึกษา ที่อยู่อาศัย โรงแรม อพาร์ทเมนท์ และสถานบันเทิง เป็นต้น โดยกระทรวงจะทาหน้าที่เป็นเพียงคนกลางในการขอความเห็นชอบจากกระทรวงที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งหากไม่มีคาคัดค้านจากกระทรวงใดภายใน 15 วัน DPI สามารถอนุมัติโครงการนั้นได้ และจะพยายามให้ขั้นตอนการอนุมัติลงทุนดังกล่าวเป็นระบบเสร็จในขั้นตอนเดียว (One–stop Services)

วงเงินการอนุมัติโครงการ
อดีต
เงินลงทุนน้อยกว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จังหวัดสามารถอนุมัติได้

เงินลงทุนมากกว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือโครงการที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Project) MPI เป็นผู้อนุมัติ
ปัจจุบันทุกโครงการ จังหวัดสามารถออก license ได้ โดย DPI เงินลงทุนน้อยกว่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นโครงการที่ไม่ได้ อยู่ในรายชื่อของการลงทุนที่มีเงื่อนไข (Conditional Investment) จังหวัดสามารถอนุมัติได้ เงินลงทุนมากกว่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ เป็นโครงการที่มีเงื่อนไขการลงทุน MPI เป็นผู้อนุมัติ

ปัจจุบันไม่มีการกาหนดเงินลงทุนขั้นต่าว่าเป็นเท่าใดถึงจะลงทุนได้ ยกเว้น ธุรกิจธนาคาร กระทรวงการคลังจะเป็นผู้พิจารณาการยกเว้นภาษีในแต่ละธุรกิจซึ่งจะมี Road map ในการยกเว้นภาษี สาหรับการนาเข้าชิ้นส่วนวัตถุดิบ (Spare Parts) ในการผลิต จะได้รับการยกเว้นภาษีการนาเข้าหากเป็นการนาเข้าเพื่อการส่งออก สาหรับการนาเข้าสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) จะต้องได้รับการอนุมัติจากกรมศุลกากรภายใต้กระทรวงการคลังในการขอยกเว้นภาษีการนาเข้าเสียก่อน 6) การจัดตั้งบริษัท เมื่อได้รับอนุมัติโครงการแล้ว บริษัทต้องดาเนินการดังนี้ 6.1) จัดตั้งคณะกรรมการบริหารบริษัท (Board of Management) แต่งตั้งประธานและรองประธานคณะกรรมการบริหารบริษัทภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับใบอนุญาตลงทุน (กฎหมายเวียดนามอนุญาตให้บุคคลเพียงคนเดียว สามารถจัดตั้งบริษัทจากัดได้ โดยไม่จาเป็นต้องมีผู้

ถือหุ้นรายอื่น) สาหรับกิจการร่วมทุน (Joint Venture) คณะกรรมการบริหารต้องมาจากผู้แทนแต่ละฝ่ายตามสัดส่วนของเงินลงทุน และสมาชิกอย่างน้อย 2 คน ในคณะกรรมการบริหารต้องมาจากฝ่ายเวียดนาม ส่วนประธานคณะกรรมการบริหาร มาจากการแต่งตั้งร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย 6.2) จัดประชุมคณะกรรมการบริหารบริษัทภายใน 60 วัน นับจากวันที่ได้รับใบอนุญาตลงทุน ทั้งนี้ เพื่อกาหนดกฎระเบียบการดาเนินการของคณะกรรมการบริหารบริษัทจัดตั้งผู้อานวยการ รองผู้อานวยการ และหัวหน้าฝ่ายบัญชี ระบุมูลค่าเงินลงทุน แผนการก่อสร้างโรงงาน เป็นต้น กรณีกิจการร่วมทุน ผู้อานวยการหรือรองผู้อานวยการคนที่ 1 คนใดคนหนึ่งต้องเป็นผู้แทนจากฝ่ายเวียดนาม 6.3) ส่งบันทึการประชุกมคณะกรรมการบริหารข้างต้นไปยังแผนกวางแผนและการลงทุนของจังหวัดที่ลงทุน และหากลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ให้ส่งไปยังคณะกรรมการบริหารนิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งโรงงานด้วย 6.4) จดทะเบียนคณะกรรมการบริหารบริษัท ผู้อานวยการ รองผู้อานวยการ ที่กรมวางแผนและการลงทุนของจังหวัด (DIP) หรือหากลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมให้จดทะเบียน กับคณะกรรมการบริหารนิคมอุตสาหกรรม (BOM) 6.5) ประกาศการจัดตั้งบริษัทในหนังสือพิมพ์เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน โดยระบุชื่อและที่อยู่ของบริษัท ชื่อและที่อยู่ของบริษัทลงทุนต่างชาติ ประเภทของการลงทุน เลขที่บัตรส่งเสริมการลงทุน วันที่อนุญาต จานวนทุนจดทะเบียน จุดประสงค์และขอบเขตการดาเนินการของบริษัท 6.6) นาบัตรส่งเสริมการลงทุนไปยื่นขอตรายางบริษัทที่สถานีตารวจในท้องที่ 6.7) นาบัตรส่งเสริมการลงทุนและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปแจ้ง ขอรับเลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากรที่แผนกสรรพากรจังหวัด
7) การจ้างแรงงาน

7.1) แรงงานเวียดนาม ปัจจุบันบริษัทต่างชาติสามารถจ้างแรงงานท้องถิ่นได้โดยตรง ยกเว้น สถานทูตและองค์กรระหว่างประเทศเท่านั้นที่ยังต้องจ้างแรงงานและจ่ายเงินเดือนผ่านหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้บริษัทต้องจ่ายค่าประกันสังคมร้อยละ 15 และค่าประกันสุขภาพอีกร้อยละ 2 ของค่าจ้างเงินเดือนให้กับพนักงานชาวเวียดนามด้วย ขณะเดียวกันพนักงานชาวเวียดนามต้องจ่ายค่าประกันสังคมร้อยละ 5 และค่าประกันสุขภาพร้อยละ 1 เช่นกัน

7.2) แรงงานต่างชาติ กระทรวงแรงงาน ทหารผ่านศึก และสวัสดิการสังคมของเวียดนาม มีคาสั่งที่ 19–LDTBXH–QD ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2533 กาหนดเงื่อนไขการจ้างแรงงานต่างชาติว่าบริษัทสามารถจ้างแรงงานต่างชาติได้เฉพาะตาแหน่งที่ต้องใช้ทักษะความชานาญสูง ซึ่งไม่สามารถสรรหาได้ภายในเวียดนาม โดยให้ยื่นคาขอจ้างแรงงานต่างชาติ (Work Permit) เป็นลายลักษณ์อักษรไปยังสานักงานแรงงานในท้องถิ่นและต้องระบุเวลาการว่าจ้างแรงงานต่างชาติ ดังกล่าว พร้อมแผนการฝึกอบรมบุคลากรชาวเวียดนามให้มีความสามารถทัดเทียมเพื่อทางานแทนแรงงานต่างชาติได้ในอนาคต

7.3) การขอใบอนุญาตจ้างแรงงานต่างชาติ (Work Permit) บริษัทต้องนาหลักฐานต่างๆ อาทิ หนังสือเดินทาง และทะเบียนบ้านทั้งต้นฉบับและสาเนา พร้อมด้วยสัญญาจ้างงาน ระบุเหตุผลการว่าจ้าง ที่อยู่ของบริษัทเป็นภาษาเวียดนาม แผนภูมิโครงสร้างบุคลากรของบริษัทรายชื่อแรงงานต่างชาติทั้งหมด ทะเบียนบริษัท หนังสือระบุวัตถุประสงค์ของบริษัท รายชื่อคณะกรรมการบริหารบริษัท หนังสือรับรองคุณวุฒิการศึกษา ประวัติการทางาน หนังสือรับรองสุขภาพออกโดยโรงพยาบาลที่รัฐกาหนด หนังสือรับรองประวัติอาชญากรรม โดยถ้าเริ่มทาจากประเทศไทย ต้องให้สันติบาลพิมพ์ลายนิ้วมือและรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรม หลังจากนั้นให้กระทรวงการต่างประเทศประทับตรา และสถานทูตเวียดนามในประเทศไทยรับรองความถูกต้องของเอกสาร แต่ถ้าเริ่มทาที่เวียดนาม ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือที่สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในเวียดนาม เพื่อส่งกลับไปตรวจสอบที่ประเทศไทย จากนั้นสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยรับรองความถูกต้องของเอกสารและส่งต่อไปยังกระทรวงต่างประเทศของเวียดนาม เพื่อรับรองตราของสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย ท้ายที่สุดนาไปแปลเป็นภาษาเวียดนามพร้อมทั้งรับรองความถูกต้องที่ Notary Public

8) การขอใบอนุญาตดาเนินการ (Licence) หลังจากที่บริษัทแจ้งรายชื่อคณะกรรมการบริหารบริษัท ผู้อานวยการ รองผู้อานวยการ และพนักงานทั้งหมดของบริษัท ไปยังกรมวางแผนและการลงทุนของจังหวัดแล้ว บริษัทต้องนาหลักฐานที่แสดงว่าได้นาเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าโครงการ โดยอาจอยู่ในรูปเงินสดหรือเครื่องจักร หรือการเปิดบัญชี Capital Account กับธนาคาร เพื่อขอใบอนุญาตดาเนินการ (Licence) จากกระทรวงวางแผนและการลงทุน หรือหน่วยงานที่มีอานาจอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงสามารถเปิดดาเนินการจริงได้

ขั้นตอนการขออนุมัติจัดตั้งสาขาหรือสานักงานตัวแทน บริษัทต่างชาติสามารถขออนุญาตจัดตั้งสาขา (Branch) เพื่อดาเนินกิจการเกี่ยวกับการค้าและการท่องเที่ยวในเวียดนามได้ โดยขออนุมัติจากกระทรวงการค้า (Ministry of Trade) ในส่วนที่เกี่ยวกับการค้า สาขาบริษัทต่างชาติสามารถดาเนินกิจการได้ดังนี้
1. ส่งออกสินค้าที่ผลิตในเวียดนาม เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค หัตถกรรม และผลิตผลทางการเกษตร (ยกเว้น ข้าวและกาแฟ)
2. นาเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพื่อจาหน่ายในเวียดนาม เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์สาหรับใช้ในกิจการเหมืองแร่ การแปรรูปสินค้าเกษตรและประมง วัตถุดิบทางยา สารเคมีใช้ในการผลิตปุ๋ยและยาฆ่าแมลง นอกจากนี้ บริษัทต่างชาติอาจขอจัดตั้งสานักงานตัวแทน (Representative Office) ในเวียดนามได้ ในฐานะเป็นตัวแทนของบริษัทแม่ในต่างประเทศ แต่ไม่สามารถดาเนินกิจกรรมที่ เกี่ยวข้องกับการหารายได้ เช่น การลงนามในสัญญา การรับชาระเงินโดยตรง และการซื้อขายสินค้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การตั้งสานักงานตัวแทนก็เป็นประโยชน์สาหรับการดาเนินกิจกรรมพื้นฐานเพื่อจัดตั้งบริษัทจากัดในอนาคต สานักงานตัวแทนสามารถจ้างแรงงานท้องถิ่น นาเข้าเครื่องมืออุปกรณ์สานักงาน และทาหน้าที่ให้บริการลูกค้า วิจัยตลาด และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ สานักงานตัวแทนทั้งหมด อยู่ภายใต้การกากับดูแลของกระทรวงการค้า (ยกเว้นสถาบันการเงินซึ่งอยู่ภายใต้การกากับดูแลของ State Bank of Vietnam) และต้องปฏิบัติตามกฎหมายการ ลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งมีข้อกาหนดขั้นต่าดังนี้

- ต้องดาเนินธุรกิจในเวียดนามอย่างน้อย 5 ปี

- ต้องสร้างความมั่นใจว่าโครงการลงทุนนั้นมีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนาม ทั้งนี้ ยกเว้นสานักงานตัวแทนที่กำลังวางแผนโครงการที่มีมูลค่าเกิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าที่ผลิตหรือแปรรูปในเวียดนาม อาจไม่จาเป็นต้องมีคุณสมบัติครบข้างต้น

เอกสารที่ต้องใช้ในการจัดตั้งสาขาหรือสานักงานตัวแทน

1. แบบคำขออนุญาตจัดตั้งสาขาหรือสานักงานตัวแทนในเวียดนาม

2. สาเนาใบรับรองบริษัทและประทับตราโดยหน่วยงานราชการในประเทศของผู้ลงทุน กรณีของไทย คือ สาเนาใบบริคนห์สนธิ ประทับตราโดยกรมส่งเสริมธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

3. สาเนาใบรับรองบริษัทตามข้อ 2) ที่แปลเป็นภาษาเวียดนามโดยมีข้อความเหมือนกัน ประทับตราโดยสถานทูตเวียดนามในประเทศไทย

หากเอกสารถูกต้องและครบถ้วน สามารถอนุมัติโครงการได้ภายใน 15 วัน นับจากวันยื่นเอกสารหลักฐาน

 


(แหล่งข้อมูล: สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ปี 2550 หรือสามารถค้นหาได้ที่http://www.boi.go.th)