วันที่นำเข้าข้อมูล 6 พ.ย. 2555
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565
รูปแบบและเงื่อนไขการลงทุนต่างชาติในเวียดนาม
ในการประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ 6 ของเวียดนาม เมื่อปี 2529 นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ การพัฒนาเศรษฐกิจสู่ระบบตลาดภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ต่อมา ในการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2530 จึงมีการออกกฎหมายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (Law on Foreign Direct Investment) เป็นครั้งแรก จนถึงปัจจุบัน มีการปรับปรุงแก้ไขไปแล้ว 4 ครั้ง เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2533 วันที่23 ธันวาคม 2535 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 และวันที่ 9 มิถุนายน 2543 หลังจากนั้น มีการแก้ไขบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องเป็นระยะๆ ล่าสุด มีประกาศแก้ไขเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ ของนักลงทุนต่างประเทศเมื่อปลายปี 2546 และกลางปี 2547 ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
ปัจจุบัน หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ คือ Foreign Investment Agency ในสังกัดกระทรวงวางแผนและการลงทุน (Ministry of Planning and Investment: MPI) และมีหน่วยงานระดับกรม (Department of Planning and Investment : DPI) ประจาอยู่ในทุกจังหวัด ทั้งนี้ ในกฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศของเวียดนามให้การรับประกันว่าจะให้การปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันต่อนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในเวียดนามในด้านต่างๆ ดังนี้
1) ไม่มีการยึดทรัพย์สินหรือโอนกิจการลงทุนของต่างประเทศเป็นของรัฐ ตลอดช่วงระยะเวลาของการลงทุน
2) ให้การรับประกันว่าจะปกป้องสิทธิในทรัพย์สินอุตสาหกรรม และผลประโยชน์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีในเวียดนาม
3) รัฐบาลจะปกป้องผลประโยชน์ของนักลงทุนอย่างสมเหตุสมผล หากมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักลงทุน เช่น หากกฎหมายที่ประกาศใช้ภายหลัง ทาให้ผลประโยชน์ของนักลงทุนลดลง นักลงทุนที่ลงทุนก่อนหน้าที่กฎหมายใหม่ประกาศใช้มีสิทธิเลือกใช้สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายเดิมได้
4) รัฐบาลรับประกันการให้สิทธิการโอนย้ายไปต่างประเทศสาหรับ
- กำไรจากการดาเนินธุรกิจ
- เงินที่ได้รับจากการจัดเตรียมเทคโนโลยีและการบริการ
- เงินต้นและดอกเบี้ยของเงินกู้จากต่างประเทศในระหว่างดาเนินกิจการ
-เงินลงทุน
- เงินและทรัพย์สินอื่นๆ ที่มีกรรมสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมาย
- รายได้หลังหักภาษีรายได้ของแรงงานต่างชาติที่ทางานในเวียดนาม
5) เมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างผู้ร่วมทุน หรือระหว่างบริษัทต่างชาติกับสถาบันใด ๆ ของเวียดนาม และไม่สามารถตกลงกันได้ สามารถเสนอให้อนุญาโตตุลาการหรือองค์กรอื่นๆ ตามที่ตกลงกันเป็นผู้ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมได้
6) อนุญาตให้บริษัทต่างชาติดาเนินการลงทุนได้ 50 ปี และสามารถต่อเวลาได้ถึง 70 ปี
รูปแบบการลงทุนของต่างชาติในเวียดนาม
การลงทุนของต่างชาติในเวียดนามสามารถทาได้หลายรูปแบบ ทั้งในรูปสัญญาร่วมลงทุน กิจการร่วมทุน กิจการที่ต่างชาติเป็นเจ้าของทั้งหมด และอื่นๆ
1. สัญญาร่วมลงทุนธุรกิจ (Business Co-operation Contract : BCC) เป็นการร่วมทุนทาธุรกิจระหว่างนักลงทุนต่างชาติกับนักลงทุนเวียดนาม ซึ่งอาจมีมากกว่า 1 รายเข้าร่วมทาธุรกิจด้วย มีความยืดหยุ่นมากที่สุด นิยมทาในอุตสาหกรรมประเภทน้ามัน โทรคมนาคม และการโฆษณา
ตามกฎหมายสัญญาลักษณะนี้ไม่ถือว่าเป็นการจัดตั้งบริษัทจากัดแห่งใหม่แต่เป็นการสร้าง ความผูกพันโดยสัญญาของโครงการนั้นๆ ด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายในการจัดสรรหน้าที่ ความรับผิดชอบกาไรและขาดทุนและไม่มีข้อกาหนดเรื่องเงินทุนขั้นต่าของต่างชาติ ระยะเวลาของสัญญาขึ้นอยู่กับการตกลงกัน และนักลงทุนต่างชาติสามารถโอนเงินกาไรกลับประเทศได้ค่อนข้างง่าย แม้ว่าจะไม่มีข้อจากัดในเรื่องระยะเวลาแต่โดยส่วนใหญ่แล้วสัญญาชนิดนี้จะเป็นสัญญาระยะสั้น ข้อเสียของการลงทุนประเภทนี้ คือ ไม่มีการจากัดความรับผิดชอบหากเกิดการขาดทุน อีกทั้งนักลงทุนต่างชาติยังขาดความเป็นอิสระในการบริหารงาน
2. กิจการร่วมทุน (Joint Venture : JV) ในอดีต กิจการร่วมทุนเป็นรูปแบบที่นิยมกันมากในเวียดนาม แต่ปัจจุบันเริ่มลดลง เนื่องจากมักมีปัญหาด้านการบริหารงานและการขยายธุรกิจ กิจการร่วมทุนก่อตั้งโดยสัญญาร่วมทุนระหว่าง นักลงทุนต่างชาติรายเดียวหรือหลายรายกับนักลงทุนของเวียดนามรายเดียวหรือหลายราย เพื่อดาเนินกิจการทางธุรกิจร่วมกัน หรือบางกรณีอาจเป็นการดาเนินการระหว่างรัฐบาลต่างประเทศกับรัฐบาลเวียดนามก็ได้ การลงทุนประเภทนี้เป็นการตั้งบริษัทใหม่ในรูปหุ้นส่วนที่จากัดความรับผิดชอบ มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเวียดนาม การก่อตั้งต้องได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนก่อตั้งจากกระทรวงวางแผนและการลงทุน (Ministry of Planning and Investment : MPI) ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าร่วมลงทุนจะมีกฎหมายกาหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการลงทุน โดยมีสัดส่วนทุนของแต่ละฝ่ายที่ชัดเจนตามข้อตกลง นักลงทุนต่างชาติอาจลงทุนในรูปของเงินตราต่างประเทศ โรงงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์สิทธิบัตร ความรู้ทางเทคนิค กระบวนการทางเทคนิค และการบริการทางเทคนิคก็ได้ ซึ่งจะมีการประเมินค่าทุนเหล่านั้นเป็นตัวเงินโดยใช้ราคาตลาด ณ เวลานั้น สาหรับนักลงทุนชาวเวียดนามอาจลงทุนในรูปเงินตราของเวียดนามหรือเงินตราต่างประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน โรงงาน หรือแรงงานก็ได้ ไม่มีการกาหนดเพดานของการลงทุนร่วม หรือสัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ แต่โดยทั่วไปสัดส่วนการลงทุนจากต่างชาติต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเงินลงทุนทั้งหมด ในส่วนของกาไรและความเสี่ยงต่างๆ ของกิจการร่วมทุนจะเฉลี่ยไปในแต่ละฝ่ายที่ร่วมลงทุนตามสัดส่วนของทุน ระยะเวลาของการลงทุนจะกาหนดไว้ชัดเจนในสัญญา หากไม่สามารถทาได้ตามเวลาที่กาหนดอาจถูกยกเลิกสัญญาทันที ระยะเวลาของสัญญากาหนดไว้ไม่เกิน 50 ปี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับเงินลงทุนด้วย กิจการร่วมทุนจะดาเนินการโดยคณะกรรมการบริหาร (Board of Management: BOM) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากแต่ละฝ่ายตามสัดส่วนของเงินลงทุน ทั้งนี้สมาชิกอย่างน้อย 2 คน ใน BOM จะต้องมาจากฝ่ายเวียดนาม ส่วนประธานของ BOM มาจากการแต่งตั้งโดยผู้ร่วมกิจการทั้งสองฝ่าย ซึ่งเห็นชอบร่วมกันเป็นเอกฉันท์ และ BOM จะแต่งตั้งผู้อานวยการทั่วไปและรองผู้อานวยการทั่วไป เพื่อรับผิดชอบในการบริหารกิจการ ซึ่งผู้อานวยการทั่วไปหรือรองผู้อานวยการทั่วไปคนที่ 1 คนใด คนหนึ่งจะต้องเป็นตัวแทนจากฝ่ายเวียดนาม
3. กิจการที่ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของทั้งหมด (Wholly Foreign–owned Enterprise) กิจการที่ต่างชาติเป็นเจ้าของเองทั้งหมด นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการลงทุนในเวียดนาม โดยเป็นการลงทุนขององค์กรหรือเอกชนจากต่างประเทศทั้งหมด การลงทุนดังกล่าวจะต้องได้รับอนุมัติจาก MPI หรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก่อน การลงทุนในลักษณะนี้มีสถานะเป็นบริษัทจากัดตามทางกฎหมายการลงทุนของเวียดนาม และผู้ลงทุนมีอานาจเต็มในการบริหาร
อนึ่ง คาว่า "เงินลงทุน" ในเวียดนามมีศัพท์สาคัญ 2 คาคือ "Registered Capital" หมายถึงมูลค่าลงทุนทั้งหมดของโครงการนั้น และ "Legal Capital" หมายถึง เงินลงทุนตามกฎหมายที่นักลงทุนต่างชาติจะต้องนาเข้ามาลงทุนในประเทศ คือ ไม่ต่ากว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมดในโครงการนั้น ซึ่งอาจนาเข้ามาเป็นเงินสด หรือเครื่องจักรอุปกรณ์ เทคโนโลยีต่างๆ ก็ได้ โดยนักลงทุนจะต้องเปิดบัญชี "Capital Account" กับธนาคาร เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการนาเงินเข้ามาลงทุน และสามารถใช้ในการโอนเงินระหว่างประเทศได้ แต่สาหรับการใช้จ่ายในการดาเนินงานประจาวัน ต้องแยกบัญชีต่างหากที่เรียกว่า "Operating Account" นอกจากนี้นักลงทุนไม่สามารถกู้เงินระยะยาว (เกิน 1 ปี) จากธนาคารเกินร้อยละ 70 ของมูลค่าลงทุนของโครงการ แต่ไม่มีข้อจากัดในการกู้ระยะสั้น
4. กิจการที่ทาสัญญากับภาครัฐ เป็นรูปแบบการลงทุนที่เป็นข้อตกลงระหว่างหน่วยงานราชการของเวียดนามกับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งอาจเป็นบริษัทต่างชาติถือหุ้นทั้งหมดหรือบริษัทร่วมทุนกับเวียดนามก็ได้ เพื่อที่จะสร้างหรือดาเนินการในโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น สะพาน ถนน สนามบิน ท่าเรือ ประปา ไฟฟ้า เป็นต้น โดยผู้ลงทุนจะได้รับอนุญาตให้ดาเนินโครงการในระยะเวลาที่เพียงพอที่จะทาให้ได้รับเงินลงทุนคืนพร้อมกาไรที่ สมเหตุสมผล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกาหนดในสัญญา โดยอาจเป็นสัญญาในรูป BOT (Build-Operate-Transfer) คือ สร้างเสร็จแล้วสามารถหาผลประโยชน์ได้ในช่วงเวลาหนึ่งก่อนโอนกิจการเป็นของรัฐ หรือ BTO (Build-Transfer-Operate) คือ สร้างเสร็จแล้วต้องโอนให้รัฐก่อน จึงเปิดดาเนินการเพื่อหาผลประโยชน์ได้ในช่วงเวลาหนึ่ง หรือ BT (Build-Transfer-Contract) คือสร้างเสร็จแล้วต้องโอนให้รัฐทันที โดยรัฐจะอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติไปลงทุนในโครงการอื่นๆ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนตามสมควร เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐบาลเวียดนามได้สนับสนุนการลงทุนต่างชาติในรูปแบบดังกล่าว โดยการให้สิทธิพิเศษในการใช้ที่ดินและสิ่งอานวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งสิทธิพิเศษทางด้านภาษี เป็นต้น
5. อื่น ๆ นอกจากนี้ นักลงทุนอาจขยายกิจการในเวียดนามในรูปแบบอื่นๆ ได้ เช่น การตั้งสานักงานตัวแทนทางการค้าและการลงทุนในเวียดนาม เพื่อทาหน้าที่แทนบริษัทแม่ในต่างประเทศ หรือการขยายสาขาของธุรกิจบางประเภท เช่น ธนาคาร ประกันภัย การบัญชี หรือกฎหมาย เป็นต้น แต่จะมีขอบเขตการดำเนินกิจการที่ค่อนข้างจากัด
อนึ่ง รัฐบาลกาลังปรับปรุงกฎหมายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศใหม่ โดยจะรวมกฎหมายการลงทุนในประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศเข้าด้วยกัน พร้อมกับปรับปรุงกฎหมายใหม่ที่สาคัญ ได้แก่ การเพิ่มรูปแบบการลงทุนมากขึ้น เช่น การร่วมหุ้นในบริษัท (Joint Stock Company) ห้างหุ้นส่วน (Partnership) บริษัทเอกชน (Private Enterprise) และการควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition) รวมทั้งจะยกเลิกเงื่อนไขที่ห้ามชาวต่างชาติถือหุ้นในกิจการของชาวเวียดนามเกินร้อยละ 30 ด้วย
กิจการที่มีเงื่อนไขพิเศษสาหรับการลงทุนจากต่างชาติ ปัจจุบันมีกิจการบางประเภทที่รัฐบาลเวียดนามห้ามหรือมีเงื่อนไขในการลงทุนของต่างชาติ ดังนี้
กิจการที่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับรูปแบบการลงทุน
1) กิจการที่ต้องลงทุนในลักษณะ BCC และนักลงทุนฝ่ายเวียดนามต้องมีความเชี่ยวชาญและได้รับอนุมัติดาเนินการได้ ในสาขาต่อไปนี้
- การพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม บริการโทรคมนาคม บริการขนส่งพัสดุภัณฑ์ทั้งในและระหว่างประเทศ
- กิจกรรมเกี่ยวกับสื่อมวลชน การกระจายเสียงทางวิทยุและโทรทัศน์
2) กิจการที่ต้องลงทุนในลักษณะ BCC หรือ Joint Venture เท่านั้น ได้แก่ - การขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติและน้ามัน
<- การขนส่งทั้งทางอากาศ ทางรถไฟ และทางทะเล การขนส่งผู้โดยสาร และการสร้างท่าเรือและท่าอากาศยาน ยกเว้นกรณีทาสัญญาลักษณะ BOT, BTO หรือ BT
- บริการทางทะเลและทางอากาศ
- กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม
- กิจการที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้
- กิจการที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางท่องเที่ยว
- การผลิตวัตถุระเบิดเชิงอุตสาหกรรม
- บริการที่ปรึกษา (ยกเว้นที่ปรึกษาทางเทคนิค)
3) กิจการที่ต้องมีการลงทุนพัฒนาวัตถุดิบ - การผลิตและแปรรูปนม - การผลิตน้ามันพืชและน้าตาลจากอ้อย - การแปรรูปไม้ (ยกเว้นโครงการที่ใช้ไม้ที่นาเข้าจากต่างประเทศ)
4) กิจการที่ต้องขออนุมัติจากนายกรัฐมนตรีโดยตรง - กิจการนาเข้าและกระจายสินค้าในประเทศ - กิจการประมงนอกชายฝั่ง
ระบบภาษีอากร
ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax)
ในอดีต บริษัทท้องถิ่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 32 และบริษัทต่างชาติเสียภาษี ร้อยละ 25 แต่หลังจากรัฐบาลประกาศใช้ Decree No.164/2003/ND-CP เมื่อ 22 ธันวาคม 2546 ใน Chapter II Article 9 ระบุว่ากิจการทุกประเภททั้งของรัฐบาล เอกชนท้องถิ่น และบริษัทต่างชาติ เสียภาษีในอัตราเท่ากันคือ ร้อยละ 28 และสาหรับกิจการที่ได้รับส่งเสริมพิเศษ และมีการจ้างงานตามที่กาหนด*จะได้รับสิทธิประโยชน์ โดยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10-20 เป็นเวลา 10-15 ปี แล้วแต่เงื่อนไขของกิจการ รวมทั้งมีการยกเว้นและลดหย่อนภาษีอีกระยะหนึ่งด้วย
อย่างไรก็ตาม สิทธิประโยชน์ของนักลงทุนต่างชาติที่ได้รับตาม Decree No. 164 ลดลงจากเดิมหลายประการ และส่งผลกระทบต่อการลงทุนของต่างชาติในเวียดนามอย่างชัดเจนรัฐบาลจึงมีการทบทวน และในที่สุดเมื่อ 6 สิงหาคม 2547 ได้ประกาศ Decree No.152/2004/ND-CP ปรับปรุงแก้ไข Decree No.164 ดังกล่าว ซึ่งทาให้สิทธิประโยชน์ของนักลงทุนสูงขึ้นและชัดเจนขึ้น
อนึ่ง โครงการลงทุนก่อน Decree No.152/2004/ND-CP มีผลบังคับใช้และได้รับสิทธิประโยชน์ต่ากว่า Decree ฉบับนี้ ให้ใช้สิทธิประโยชน์ตาม Decree ฉบับนี้สาหรับอายุโครงการที่เหลือ ส่วนโครงการลงทุนจาก 1 มกราคม 2547 จนถึงวันที่ Decree ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ และได้รับสิทธิประโชน์ตาม Decree No.164/2003/ND-CP สูงกว่า Decree ฉบับนี้ให้ใช้สิทธิประโยชน์ตาม Decree No.164/2003/ND-CP ได้ตลอดอายุโครงการที่เหลือ
แหล่งข้อมูล: สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ปี 2550
หรือสามารถค้นหาได้ที่ http://www.boi.go.th)
อีเมลสถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์
ติดต่อทั่วไป
แผนกเศรษฐกิจ
แผนกกงสุล (หนังสือเดินทาง, นิติกรณ์และทะเบียนราษฎร์, บัตรประชาชน, การตรวจลงตราและรับรองเอกสาร)