วันที่นำเข้าข้อมูล 29 พ.ค. 2562
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565
จังหวัดอันยางส่งออกมะม่วงไปยังสหรัฐอเมริกาในเดือนมิถุนายน 2562
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเกษตรท้องถิ่นในจังหวัดอันยาง (หนี่งใน 13 จังหวัดบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง)ได้เปลี่ยนจากการนิยมปลูกข้าวมาเป็นพืชประเภทอื่น ๆ ส่งผลให้มีพื้นที่ปลูกผลไม้โดยเฉพาะมะม่วงเพิ่มขึ้นอย่างมากและมีแผนที่จะส่งออกมะม่วง 5 - 10 ตันไปยังสหรัฐอเมริกาในเดือนมิถุนายน 2562 อย่างไรก็ดีโดยที่ผ่านมาจังหวัดได้ให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศและการส่งออกไปยังประเทศจีนเป็นหลักดังนั้นการส่งออกมะม่วงไปยังสหรัฐอเมริกาจึงเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญสำหรับการขยายตลาดส่งออกแห่งใหม่ โดยกรมการเกษตรและพัฒนาชนบทจ.อันยางได้ร่วมมือกับสหกรณ์และกลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูกมะม่วงในเขตCho Moi, An Phu, Tri Ton และ Tinh Bienเพื่อตรวจสอบและควบคุมคุณภาพสินค้าเกษตรส่งออกให้ได้มาตรฐานทางการเกษตรของเวียดนาม (VietGAP)
นอกจากนี้คณะกรรมการประชาชนในเขต Cho Moi, Tri Ton และTinh Bienได้ลงนามข้อตกลงกับบริษัท Chanh Thu Export and Import Fruit Company ในเขตCho Lachเพื่อสร้างพื้นที่ปลูกมะม่วงที่เป็นมาตรฐานสากลทั้งทางด้านเทคนิคและกระบวนการเพาะปลูกสำหรับการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะ
นาย Nguyen Sy Lamผู้อำนวยการกรมการเกษตรและพัฒนาชนบท จ.อันยางเผยว่า ในการพัฒนาตราสินค้ามะม่วงในท้องถิ่น กรมจะเร่งดำเนินการกำหนดรหัสพื้นที่เพาะปลูกในเขตดังกล่าวซึ่งปัจจุบันจ.อันยางได้ออกรหัสสำหรับการส่งออกมะม่วงแล้ว 18 รหัส ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกเกือบ 244 เฮกตาร์ในขณะที่ จังหวัดอันยางมีเนื้อที่ปลูกมะม่วงทั้งสิ้น9,700เฮกตาร์และการปลูกมะม่วงที่ได้มาตรฐาน VietGAPนั้นมีเนื้อที่ทั้งหมด 193 เฮกตาร์ซึ่งจะให้ผลผลิต 1,900 ตันต่อปีทั้งนี้ในปีที่ผ่านมาจังหวัดอันยางได้ส่งออกมะม่วงไปยังเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกาบ้างแล้วแต่ยังมีปริมาณน้อย
อนึ่ง การส่งออกมะม่วงจากเวียดนามไปยังสหรัฐอเมริกาเริ่มเป็นที่สนใจเพิ่มมากขึ้น ดังตัวอย่างบริษัท Vina T&T Import - Export Service Trading จำกัด (Vina T&T) ซึ่งเปิดเผยข้อมูลว่าบริษัทได้ส่งมะม่วงไปยังสหรัฐอเมริกามากถึง71 ตันภายหลังจากการส่งออกมะม่วงชุดแรกปริมาณ20 ตัน โดยทางเครื่องบินและทางเรือเมื่อเดือนเมษายน 2562และได้ส่งผลไม้ไปยังสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ทั้งนี้ในปี 2561 บริษัทVina T&T มีรายได้จากการส่งออกผลไม้ 30 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งการอนุญาตนำเข้ามะม่วงสดจากเวียดนามไปยังสหรัฐอเมริกาส่งผลให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15 -20
ทั้งนี้มะม่วงเป็นผลไม้ลำดับ 6 ของเวียดนามที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าไปยังสหรัฐอเมริกาหลังจากที่ได้นำเข้าลิ้นจี่ลำไยเงาะผลน้ำนม (สตาร์แอปเปิ้ล)และแก้วมังกร โดยเวียดนามมีพื้นที่ปลูกมะม่วงทั่วประเทศเกือบ 90,000เฮกตาร์และให้ผลผลิตมากถึง800,000 ตันต่อปี นอกจากนี้เวียดนามยังส่งออกผลไม้ไปยัง 40 ประเทศทั่วโลก โดยมีตลาดสำคัญ คือจีนยุโรปเกาหลีญี่ปุ่นออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
แหล่งที่มา : VietNam News
https://en.vietnamplus.vn/an-giang-to-export-mangoes-to-us-in-june/152653.vnp (15 May 2019)
https://en.vietnamplus.vn/firm-exports-71-tonnes-of-mango-to-us/152981.vnp (22 May 2019)
นครโฮจิมินห์ให้คำมั่นว่าจะแก้ไขปัญหาสำหรับภาคธุรกิจ
นาย Pham ThanhKien ผู้อำนวยการกรมอุตสาหกรรมและการค้าของนครโฮจิมินห์เผยว่า ในปี 2562 นครโฮจิมินห์จะมุ่งแก้ไขปัญหาที่ภาคธุรกิจกำลังเผชิญโดยจะสร้างความเชื่อมโยงกับตลาดต่างประเทศเพื่อขยายธุรกิจ และในอีก 7 เดือนข้างหน้าจะสร้างความร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจต่างประเทศเพื่อนำผลิตภัณฑ์ของเวียดนามไปเปิดตลาดใหม่และขยายตลาดเดิม อาทิ เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ไทยและยุโรป นอกจากนี้ยังได้เสนอให้รัฐบาลสร้างพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม (IP)และ เขตอุตสาหกรรมส่งออก (EPZ)เพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการใช้ที่ดินที่เพิ่มขึ้นด้วย
อย่างไรก็ดีกรมอุตสาหกรรมและการค้าฯ เห็นว่าการวางแผนการใช้พื้นที่ที่ผิดพลาดและปัญหาอื่นๆ เป็นความท้าทายสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจโดยยกตัวอย่างนครโฮจิมินห์ซึ่งมีนโยบายย้ายโรงงานออกนอกเขตที่อยู่อาศัยในเมืองแต่มิได้กำหนดชัดเจนว่าให้ย้ายไปยังIP หรือหรือมิฉะนั้นก็EPZ ทำให้หลายปีที่ผ่านมาโรงงานหลายแห่งจึงได้รับใบอนุญาตสร้างโรงงานในเขตที่อยู่อาศัยบริเวณชานเมืองซึ่งต่อมากลายสภาพเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว และเมื่อภาครัฐปรับเปลี่ยนแผนการใช้ที่ดิน จึงส่งผลกระทบต่อโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ดังกล่าว
นอกจากนี้ยังพบตัวอย่างบริษัท Minh Phung Plastics Joint Stock ซึ่งได้ย้ายโรงงานจากเขตที่อยู่อาศัยในเมืองตั้งแต่ปี 2543 มายังชานเมืองบริเวณถนน AoDoiในเขต Binh Tanแต่ภายใต้แผนการใช้ที่ดินใหม่ที่ดินที่บริษัทตั้งอยู่ถูกกำหนดให้เป็นสวนสาธารณะ ทำให้ไม่ได้รับอนุญาตให้จำนองที่ดินเพื่อการกู้ยืมเงินจากธนาคารนอกจากนี้ยังมีตัวอย่างเอกชนรายอื่นๆพบปัญหาเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตเพื่อก่อสร้างโรงงานการผลิตโดยไม่ได้รับใบรับรองการใช้ที่ดินเนื่องจากผู้พัฒนาพื้นที่ไม่ชำระภาษีการใช้ที่ดินให้ถูกต้องสมบูรณ์ หรือกรณีของบริษัท Saigon Food Joint Stock Companyซึ่งได้ซื้อที่ดินในเขตอุตสาหกรรม VinhLocเมื่อปี 2558 แต่ใบรับรองกรรมสิทธิ์การใช้ที่ดินยังเป็นของเจ้าของคนก่อนทำให้บริษัทไม่สามารถขยายธุรกิจในต่างประเทศและประมูลโครงการสาธารณะได้
แหล่งที่มา Vietnam Investment Review (22 May 2019)
https://www.vir.com.vn/hcm-city-promises-to-resolve-difficulties-for-business-sector-67938.htm
ภาคกลางและใต้ของเวียดนามมีศักยภาพสูงสำหรับการพัฒนาโรงแรม/รีสอร์ท
เวียดนามมีศักยภาพในการพัฒนาตลาดโรงแรม/รีสอร์ทในช่วงครี่งปีหลังของปี 2562เนื่องมาจากความต้องการและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นโดยในไตรมาสแรกของปีนี้เวียดนามดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศประมาณ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งภาคอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะการพัฒนารีสอร์ท สามารถดึงดูดการลงทุนได้เป็นลำดับที่สองอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ทั้งนี้จำนวน condotel (คอนโดกึ่งโรงแรม)ที่เสนอขายในตลาดภาคใต้โดยเฉพาะตั้งแต่นครดานังลงมามีมูลค่าสูงกว่าในจังหวัดภาคเหนือตามสถิติเบื้องต้นในปี 2561 มีcondotelมากกว่า 8,000 ยูนิต ขายใน 12 เมือง และมีการซื้อขายมากกว่า 7,800 ยูนิต โดยส่วนใหญ่เป็นเมืองที่มีโอกาสในการลงทุนด้านการท่องเที่ยวสูง เช่น นครดานัง (ร้อยละ 14), เมืองคั้นห์หว่า (มากกว่าร้อยละ 26)จังหวัดกว๋างนินห์ (ร้อยละ 19)จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่าจังหวัดเกี่ยนยางเมืองฟานเที๊ยต และจังหวัดคั้นห์หว่า
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 รัฐบาลเวียดนามได้จัดงานสัมมนาเกี่ยวกับแนวโน้มและโอกาสในการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ที่กรุงฮานอยโดยมีผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารภาครัฐและเอกชนระดับสูงเข้าร่วมจำนวนมากอาทิ อดีตผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐศาสตร์แห่งเวียดนามอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและผู้บริหารบริษัทNovaland Groupโดยทุกฝ่ายเห็นพ้องว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเวียดนามที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและอสังหาริมทรัพย์ซึ่งรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ด้านการท่องเที่ยวทั้งนี้เวียดนามยังคงมีจำนวนอสังหาริมทรัพย์ด้านการท่องเที่ยวต่ำกว่าในประเทศอื่นๆเช่น ประเทศไทย ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวของเวียดนามมีการเติบโตร้อยละ 30 ต่อปี โดยเติบโตสูงในพื้นที่ เช่น นครดานังและเมืองญาจางซึ่งใกล้ถึงจุดอิ่มตัวและในอนาคตการเติบโตจะขยายไปยังพื้นที่อื่น เช่น เมืองกวีเยินในจังหวัดบิ่นห์ดิ่นห์และเมืองถุ้ยฮว่าในจังหวัดฟู๊เอียนรวมถึงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้แก่เมืองฟันรางและเมืองฟานเที๊ยตในจังหวัดบิ่นห์ถ่วนซึ่งมีความต้องการพัฒนารีสอร์ท เชื่อมโยงสนามบินแห่งใหม่อีกด้วย (คาดว่าแล้วเสร็จในปี 2565)เพื่อเชื่อมกับทางหลวงไปยังนครโฮจิมินห์ ซึ่งจะย่นระยะเวลาเดินทางจากโฮจิมินห์เหลือเพียง 1 ชั่วโมง 45 นาที
อนึ่งที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับความท้าทายในภาคอสังหาริมทรัพย์ เช่น นโยบายควบคุมสินเชื่อที่เข้มงวดสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และขาดกฎหมายด้านที่เกี่ยวข้องรองรับโดยเฉพาะการห้ามนำcondotelมาจำนอง/เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้
ดังนั้นกฎหมายจึงควรพิจารณาเพื่อเปิดโอกาสให้ใช้ condotelจำนองทางการค้าได้ ที่ประชุมจึงได้เสนอให้รัฐบาลและสมัชชาแห่งชาติแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้ออำนวยให้ธนาคารสามารถรับจำนองcondotelได้ ในขณะที่ผู้ซื้อก็จะมีความมั่นใจในกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของมากขึ้นนอกจากนี้นักลงทุนจำนวนมากยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีการประยุกต์ใช้กับประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่ต่างกันไป เช่น condotel โรงแรม รีสอร์ท ฯลฯ ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจลงทุน
แหล่งที่มา : Viet Investment Review (24 May 2019)
https://www.vir.com.vn/vietnam-has-great-potential-in-resort-market-development-67852.html
อีเมลสถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์
ติดต่อทั่วไป
แผนกเศรษฐกิจ
แผนกกงสุล (หนังสือเดินทาง, นิติกรณ์และทะเบียนราษฎร์, บัตรประชาชน, การตรวจลงตราและรับรองเอกสาร)