จังหวัดก่าเมา (Ca Mau)

จังหวัดก่าเมา (Ca Mau)

วันที่นำเข้าข้อมูล 22 พ.ย. 2560

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 1,709 view

จังหวัดก่าเมา

ข้อมูลทั่วไป

จังหวัดก่าเมาเป็นจังหวัดใต้สุดของเวียดนาม ตอนใต้เป็นแหลมชื่อว่าแหลมก่าเมา กั้นระหว่างอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ตั้งอยู่ในส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง นายกรัฐมนตรีเหงียนตันบ้านดุงเกิดและเติบโตที่นี่ เมืองที่เป็นลักษณะของระบบการขนส่งของคลองและสินค้าส่วนใหญ่ที่นี่จะถูกลำเลียงโดยเรือและเรือ ที่ได้รับการบุกเบิกมาเมื่อกว่า 300 ปีก่อน เป็นท้องถิ่นที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่น่าสนใจ เช่น ส่วนนกเลิมเวียน เกาะห่อนควาย เกาะห่อนด๊าบากหรือเกาะหินเงินและป่าดงดิบอูมิง ป่าดงดิบอูมิงห่าได้รับการรับร่องจากยูเนสโกเป็นเขตสงวนชีวมณฑลของโลก เป็นต้น หนึ่งในกิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวเมื่อมาก่าเมาคือเที่ยว     ป่าดงดิบ จับหอยนางรมและศึกษาวัฒนธรรมจากการฟังเพลงพื้นบ้าน

เนื้อที่ทั้งหมด – 5,221.44 ตารางกิโลเมตร

จำนวนประชากรในปี 2559 – ประมาณ 1.2 ล้านคน

ความหนาแน่นของจำนวนประชากร – 230 คน/ตารางกิโลเมตร

GDRP ในปี 2559 – ถึงแม้ว่าจังหวัดก่าเมาจะประสบกับอุปสรรคตามที่ได้คาดการณ์ไว้ แต่เศรษฐกิจของจังหวัดยังสามารถรักษาระดับการเติบโตได้ในระดับปานกลาง GDRP ในปี 2559 มีมูลค่าประมาณ 35,373.30 พันล้านด่ง (ประมาณ 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.15 เมื่อเทียบกับปี 2558 ในจำนวนนั้นแบ่งเป็นภาคการเกษตร ประมง และการป่าไม้ มูลค่า 10,527.95 พันล้านด่ง (ประมาณ 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.03 ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างมูลค่า 9,016.75 พันล้านด่ง (ประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงร้อยละ 10.81 ภาคการค้าและการบริการมูลค่า 14,474.03 พันล้านด่ง (ประมาณ 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.40 และสามารถเก็บภาษีได้ 1,354.58 พันล้านด่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.97 เมื่อเทียบกับปี 2558

โครงสร้าง GDRP - ภาคการเกษตร ประมง และการป่าไม้คิดเป้นร้อยละ 29.3 ภาคอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 38.4 ภาคบริการร้อยละ 36.0

รายได้ต่อหัว – 37.7 ล้านด่งต่อปี (ประมาณ 1,600 ดอลลาร์สหรัฐ)

ภาคอุตสาหกรรมการเกษตร ประมง ป่าไม้ ในปี 2559 – มูลค่า 10,527.95 พันล้านด่ง เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ 3.03 โดยในจำนวนนั้น แบ่งเป็น

 

  • การประมง

สามารถผลิตผลิตภัณฑ์อาหารทะเลได้ 491,74 พันตัน ลดลงร้อยละ 1.63

  • การเกษตร

มีพื้นที่ทำการเกษตร 123,240 เฮกตาร์ ลดลงร้อยละ 10.78 เนื่องมาจากปัญหาภัยธรรมชาติในปี 2559 ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะข้าวที่ลดลงถึงร้อยละ 11.33

  • ป่าไม้

พื้นที่การทำป่าไม้ลดลง 4,267 เฮกตาร์ หรือร้อยละ 33.21 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ภาคอุตสาหกรรมในปี 2559  - เป็นปีที่ไม่น่าจดจำของภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดเนื่องมาจากยอดการส่งออกไปยังต่างประเทศและยอดการสั่งซื้อลดลง ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 1.16 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ภาคการค้าและการบริการในปี 2559 – เติบโตขึ้นอย่างมาก คิดเป็นรายได้ประมาณ 45,872,21 พันล้านด่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.48 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

การบริการโรงแรมและการท่องเที่ยวในปี 2559 – มีนักท่องเที่ยว 1,631,280 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.45

ดัชนีผู้บริโภคปี 2559 – เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.08 เมื่อเทียบกับปี 2558

ศักยภาพของจังหวัดก่าเมา

จังหวัดก่าเมาตั้งอยู่บนพื้นที่ติดกับทะเลใน 3 ด้าน (ทิศตะวันตก ทิศตะวันออก และทิศใต้) อยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ กว่า 300 กิโลเมตร และนครเกิ่นเทอ 150 กิโลเมตร และมีชายแดนทางทะเลที่ติดกับประเทศกัมพูชาและประเทศไทย จุดแข็งของจังหวัดก่าเมาคือการเอื้อประโยชน์ให้กับนักลงทุนในการพัฒนาการเกษตรและการประมง (โดยเฉพาะกุ้ง) ซึ่งมีพื้นที่ติดชายทะเลกว่า 254 กิโลเมตร มีพื้นที่ทำการประมง 296,000 เฮกตาร์ ซึ่งสร้างรายได้ในการส่งออกให้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ นอกจากศัยภาพทางการประมงแล้ว ก่าเมายังมีพื้นที่ป่าไม้กว่า 100,000 เฮกตาร์ ซึ่งเป็นแหล่งทำการเกษตรและการป่าไม้ชั้นดี

จังหวัดก่าเมายังมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ท่องเที่ยวตามชายฝั่ง และตามเกาะต่างๆ ซึ่งจังหวัดมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและได้รับการลงทะเบียนเป็นมรดกโลกอย่างป่าชายเลนอูมิงห่า (U Minh Ha)

นอกจากนั้น จังหวัดก่าเมามีสิทธิประโยชน์ให้กับนักลงทุนที่ลงทุนในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษาและการพัฒนาคุณภาพแรงงาน และการท่องเที่ยว

 

การส่งออกและนำเข้าสินค้าในปี 2559

มูลค่าการส่งออก – 980,24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับปี 2558 และคิดเป็นร้อยละ 75.40 ของแผนการประจำปี ซึ่งในจำนวนนั้น การส่งออกอาหารทะเลคิดเป็นมูลค่าถึงร้อยละ 960.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

มูลค่าการนำเข้า – 68.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 63.63 เมื่อเทียบกับปี 2558 สินค้านำเข้าหลักได้แก่วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตและแปรรูปกุ้งและเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ

สินค้าส่งออกหลัก

  • ข้าว
  • กุ้งแปรรูป

สินค้านำเข้าหลัก

  • กุ้งที่ใช้ในกระบวนการผลิต
  • วัตถุดิบ
  • เครื่องมือ/อุปกรณ์

 

การลงทุน

ในปี 2559 จังหวัดก่าเมามอบใบอนุญาตให้นักลงทุน 30 โครงการ มูลค่ารวม 6,629 พันล้านด่ง และเมื่อนับรวมทั้งหมด จังหวัดมีโครงการลงทุนทั้งสิ้น 205 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 83,044 พันล้านด่ง

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2560 จังหวัดก่าเมาสามารถดึงดูดโครงการลงทุนจากต่างชาติได้ 1 โครงการ มูลค่า 29.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อนับถึงเดือนกันยายน 2560 จังหวัดก่าเมาสามารถดึงดูดโครงการลงทุนได้ 11 โครงการ มูลค่ารวมทั้งหมด 37.60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ระบบโครงสร้างพื้นฐานในจังหวัดได้รับความสนใจจากนักลงทุน โดยมีโครงการและโครงสร้างต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่และสำคัญได้ดำเนินการใช้ประโยชน์แล้ว เช่น ถนนโฮจิมินห์ ช่วง Nam Cam - Dat Mau ถนน Hanh Lang เลียบชายฝั่งทางทิศใต้ สะพาน Hoa Trung บนถนน Ca Mau - Dam Doi ซึ่งสิ่งก่อสร้างเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงลักษณะทั้งพื้นที่เมืองและชนบท

ผลการปฏิบัติงานตามแผนงานหลัก

แผนการปฏิบัติงานมีทั้งหมด 12 เป้าหมายหลักที่ได้ตั้งไว้ในปี 2559 ตามการคาดการณ์มี 9 มาตรการที่ประสบความสำเร็จตามแผนงาน ส่วนอีก 3 เป้าหมายนั้นไม่สามารถประสบความสำเร็จตามแผนงานที่ตั้งไว้ได้ รายละเอียดมีดังต่อไปนี้

- เป้าหมายที่ประสบความสำเร็จตามแผนงาน

1. รายได้งบประมาณแผ่นดิน 4,380 พันล้านด่ง เท่ากับร้อยละ 103.1 ตามที่คาดการณ์ (4,250 พันล้านด่ง)

2. รายจ่ายงบประมาณแผ่นดิน 7,846 พันล้านด่ง เท่ากับร้อยละ 106.3 ตามที่คาดการณ์ (7,380 พันล้านด่ง)

3. แก้ไขปัญหาการว่างงานให้แรงงานได้ 38,850 คน (ตามแผนงาน 37,000 คน)

4. อัตราความยากจนลดลงร้อยละ 1.5 (เท่ากับแผนที่ตั้งไว้)

5. อัตราการขาดสารอาหารในเด็กลดลงเหลือร้อยละ 12 (เท่ากับแผนงานที่ตั้งไว้)

6. อัตราประชาชนเข้าถึงประกันสุขภาพ คือร้อยละ 77 (ตามแผนงานร้อยละ 73.5)

7. อัตราแรงงานผ่านการฝึกอบรม (ไม่รวมการเปลี่ยนอาชีพ) คือร้อยละ 37.7 (ตามแผนงานคือร้อยละ 37)

8. อัตราการครอบคลุมและกระจายพื้นที่ป่าไม้ คือร้อยละ 24.5 (เท่ากับแผนงานที่ตั้งไว้)

9. อัตราหน่วยงานผลิตทางธุรกิจที่มีระบบำบัดน้ำเสีย คือร้อยละ 96 (ตามแผนงานคือร้อยละ 96)

- เป้าหมายที่ไม่สามารถประสบความสำเร็จตามแผนงาน

1. GRDP ของจังหวัด (GRDP เปรียบเทียบ) ประมาณ 35,380 พันล้านด่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 (ตามแผนงาน

เพิ่มร้อยละ 7.5)

2. จำนวนเงินลงทุนทางสังคม - 10,165 พันล้านด่ง เท่ากับร้อยละ 84.7 ของแผนที่ตั้งไว้ (ตามแผนงาน 12,000 พันล้านด่ง)

3. มูลค่าการส่งออก - 980.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับร้อยละ 76.9 ของแผนที่ตั้งไว้ (ตามแผนคือ 1.3 ล้าน

ดอลลาร์สหรัฐ)

 

มูลค่าการส่งออกกุ้ง/อาหารทะเล

ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2560 ก่าเมาสามารถผลิตอาหารทะเลได้ 209,200 ตัน ลดลงร้อยละ 0.7 คิดเป็นร้อยละ 39.5 ของแผนการที่วางไว้ จังหวัดมีพื้นที่เลี้ยงกุ้ง 105,518 เฮกตาร์

ในช่วง 5 เดือนแรก จังหวัดสามารถแปรรูปอาหารทะเลได้ 56,153 ตัน ลดลงร้อยละ 4.64 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในจำนวนนั้น คิดเป็นการแปรรูปกุ้ง 43,646 ตัน ลดลงร้อยละ 4.33

ในช่วง 6 เดือนแรก จังหวัดสามารถส่งออกสินค้าได้ 420  ล้านดอลลาร์สหรัฐ  โดยในจำนวนนั้น อาหารทะเลคิดเป้นมูลค่ากว่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.54 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

โครงการลงทุน

โครงการที่จังหวัดเรียกร้องให้นักลงทุนเข้ามาลงทุน โดยนักลงทุนจะได้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนตามกฎหมายมาตรา210/213/ND-CP ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2555

 

  1. โครงการด้านปศุสัตว์

I. ชื่อโครงการ

1. โครงการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์ในอำเภอเมือง 1 โครงการ

2. โครงการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์ในอำเภอ Tran Van Thoi 1 โครงการ

3. โครงการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์ในอำเภอ Nam Can 1 โครงการ

II. เงื่อนไขในการรับการสนับสนุน

1. สามารถฆ่าสัตว์ในแต่ละวันได้ตามจำนวนแต่ละชนิดโครงการลงทุนกำหนด

2. ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการประชาชนจังหวัดก่าเมา

3. ต้องสามารถรับประกันสุขอนามัยของผลิตภัณฑ์และรักษาสิ่งแวดล้อม

4. ต้องใช้แรงงานท้องถิ่นอย่างน้อยร้อยละ 30

III. นโยบายสนับสนุน

1. งบประมาณสนับสนุนขั้นต่ำ 2 พันล้านด่ง/โครงการ ในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ สายไฟฟ้า น้ำประปา แหล่งบำบัดของเสีย และอุปกรณ์ต่างๆ

2. ภาครัฐจะให้เงินสนับสนุนเพิ่มในกรณีที่ที่ตั้งโครงการไม่มีถนน ระบบไฟฟ้า หรือน้ำประปา

B. โครงการฟาร์มปศุสัตว์

I. ชื่อโครงการ

1. โครงการฟาร์มปศุสัตว์ในอำเภอ Tran Van Thoi จำนวน 10 โครงการ

2.. โครงการฟาร์มปศุสัตว์ในอำเภอเมือง จำนวน 2  โครงการ

3. โครงการฟาร์มปศุสัตว์ในอำเภอ U Minh จำนวน 5  โครงการ

4. โครงการฟาร์มปศุสัตว์ในอำเภอ Thoi Binh จำนวน 2  โครงการ

II. เงื่อนไขในการรับการสนับสนุน

1. สามารถเลี้ยงปศุสัตว์ได้มากกว่า 1,000 ตัว

2. ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการประชาชนจังหวัดก่าเมา

3. ต้องสามารถรับประกันสุขอนามัยของผลิตภัณฑ์และรักษาสิ่งแวดล้อม

4. ต้องใช้แรงงานท้องถิ่นอย่างน้อยร้อยละ 30

III. นโยบายสนับสนุน

1. งบประมาณสนับสนุนขั้นต่ำ 3 พันล้านด่ง/โครงการ ในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ สายไฟฟ้า น้ำประปา แหล่งบำบัดของเสีย และอุปกรณ์ต่างๆ

2. ภาครัฐจะให้เงินสนับสนุนเพิ่มในกรณีที่ที่ตั้งโครงการไม่มีถนน ระบบไฟฟ้า หรือน้ำประปา

C. โครงการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทะเล

I. ชื่อโครงการ

1. ฟาร์มเลี้ยงปลาในอำเภอ Ngoc Hien จำนวน 2 โครงการ

2. ฟาร์มเลี้ยงปลาในอำเภอ Tran Van Thoi จำนวน 2 โครงการ

3. ฟาร์มเลี้ยงปลาในอำเภอ Nam Can จำนวน 1 โครงการ

II. เงื่อนไขในการรับการสนับสนุน

1. ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการประชาชนจังหวัดก่าเมา

2. ลงทุนขั้นต่ำ 5 เฮกตาร์ และมีพื้นที่เลี้ยงปลาไม่ต่ำกว่า 10 ที่ ที่ละ 100 ตรม.

3. ต้องสามารถรับประกันสุขอนามัยของผลิตภัณฑ์และรักษาสิ่งแวดล้อม

4. ต้องใช้แรงงานท้องถิ่นอย่างน้อยร้อยละ 30

III. นโยบายสนับสนุน

1. งบประมาณสนับสนุนขั้นต่ำ 100 ล้านด่ง/1 พื้นที่เลี้ยงปลา สำหรับการเลี้ยงปลาในบริเวณห่างไกลจากทะเล

2. งบประมาณสนับสนุนขั้นต่ำ 40 ล้านด่ง / 1 พื้นที่เลี้ยงปลา สำหรับการเลี้ยงปลาในบริเวณทะเล

D. โครงการแปรรูปปลาอบแห้ง/แปรรูปข้าว

I. ชื่อโครงการ

1. Luong The Tran Seafood by product dryer อำเภอ Cai Nuoc จำนวน 1 โครงการ

2. โรงสีข้าว อำเภอ U Minh จำนวน 1 โครงการ

II. เงื่อนไขในการรับการสนับสนุน

1. โรงสีข้าวสามารถสีข้าวได้ขั้นต่ำ 150 ตัน/วัน โรงงานแปรรูปปลาอบแห้งสามารถผลิตสินค้าขั้นต่ำ 50 ตัน/วัน

2. ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการประชาชนจังหวัดก่าเมา

3. ต้องสามารถรับประกันสุขอนามัยของผลิตภัณฑ์และรักษาสิ่งแวดล้อม

4. ต้องใช้แรงงานท้องถิ่นอย่างน้อยร้อยละ 30 และข้าว/อาหารทะเลร้อยละ 60 ต้องเป็นของท้องถิ่น

III. นโยบายสนับสนุน

งบประมาณสนับสนุนขั้นต่ำ 2 พันล้านด่ง/โครงการ ในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ สายไฟฟ้า น้ำประปา แหล่งบำบัดของเสีย และอุปกรณ์ต่างๆ

E. โครงการการเกษตร ประมง และป่าไม้

I. ชื่อโครงการ

1. โรงงานแปรรูปปลา อำเภอ Tran Van Thoi จำนวน 2 โครงการ

2.  โรงงานแปรรูปปลา อำเภอ Ngoc Hien จำนวน 1 โครงการ

3. โรงงานแปรรูปไม้ อำเภอ U Minh จำนวน 1 โครงการ

4. โรงงานแปรรูปไม้ อำเภอ Ngoc Hien จำนวน 1 โครงการ

5. โรงงานแปรรูปกล้วย อำเภอ U Minh จำนวน 1 โครงการ

6. โรงงานน้ำตาล

II. เงื่อนไขในการรับการสนับสนุน

1. ผลผลิตมีมูลค่า 2 เท่าจากวัตถุดิบเดิม

2. ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการประชาชนจังหวัดก่าเมา

3. ต้องสามารถรับประกันสุขอนามัยของผลิตภัณฑ์และรักษาสิ่งแวดล้อม

4. ต้องใช้แรงงานท้องถิ่นอย่างน้อยร้อยละ 30 และข้าว/อาหารทะเลร้อยละ 60 ต้องเป็นของท้องถิ่น

III. นโยบายสนับสนุน

นโยบายสนับสนุนขึ้นอยู่กับชนิดของโครงการต่างๆ