วันที่นำเข้าข้อมูล 6 พ.ย. 2555
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565
โอกาสและสิ่งท้าทายในการลงทุนในเวียดนาม
ค่าประกันสังคมสูง
แม้ ว่าค่าแรงของชาวเวียดนามจะมีค่าแรงค่อนข้างถูก แต่รัฐบาลได้รักษาสิทธิประโยชน์ให้กับ แรงงานชาวเวียดนามโดยการกำหนดอัตราค่าเบี้ยประกันที่ผู้ประกอบการจะต้องเป็น ผู้เสียให้แก่ลูกจ้าง ในการจ้างงานสูงถึงร้อยละ 17 ของเงินเดือนที่ได้รับ โดยจะแบ่งเป็นค่าประกันสังคมร้อยละ 15และ ค่าประกันสุขภาพร้อยละ 2 และรัฐบาลเรียกเก็บจากลูกจ้างอีกร้อยละ 6 ซึ่งแบ่งเป็นค่าประกัน สังคมร้อยละ 5 และค่าประกันสุขภาพอีกร้อยละ 1 ดังนั้น รัฐบาลจะได้รับค่าประกันรวมทั้งสิ้นร้อยละ 23
* | ค่าประกันสังคม | ค่าประกันสุขภาพ | รวม |
นายจ้าง | 15% | 2% | 17% |
ลูกจ้าง | 5% | 1% | 6% |
รวม | 20% | 3% | 23% |
ทั้งนี้ ค่าประกันสังคมและค่าประกันสุขภาพส่วนหนึ่ง รัฐบาลเวียดนามใช้จ่ายให้แก่แรงงานสตรีที่ลาคลอด ซึ่งสตรีสามารถลาคลอดได้เป็นระยะเวลา 4 เดือนต่อการคลอดบุตรต่อครั้ง โดยที่รัฐบาลจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าแรงเป็นให้ระยะเวลา 5 เดือน ซึ่งเดือนที่ 5 ถือเป็นเบี้ยขยันที่สตรีลาคลอดบุตร พึงได้รับ อย่างไรก็ตาม นายจ้างจะต้องเก็บตำแหน่งไว้หลังจากที่แรงงานลาคลอดจนกว่าจะกลับมา ทำงาน และเมื่อกลับมาทำงานสามารถลางานเพิ่มได้อีกวันละ 1 ชั่วโมง จนกว่าบุตรจะมีอายุครบ 1 ขวบ
การปฏิรูประบบการเงินการธนาคารยังมีความข้อจำกัด
ชาว เวียดนามนิยมซื้อขายสินค้าเป็นเงินสด ไม่นิยมสินเชื่อหรือบัตรเครดิต ทั้งนี้ เนื่องจากการปฏิรูประบบการเงินการธนาคารยังมีข้อจำกัดและชาวเวียดนามไม่นิยม ทำธุรกรรมผ่านธนาคาร ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งสินค้าไปยังเวียดนามควรให้ความสำคัญกับรายละเอียด ต่างๆ ได้แก่
• ระมัดระวังในการเลือกใช้วิธีการชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ ซื้อในเวียดนาม โดยควรเลือกทำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารที่มีชื่อเสียงในเวียดนาม เช่น ธนาคารพาณิชย์ของรัฐบาลเวียดนาม หรือธนาคารกรุงเทพของไทย เป็นต้น
• ก่อน ส่งออกสินค้าไปยังตัวแทนจำหน่ายหรือผู้นำเข้ารายใหม่ในเวียดนาม ผู้ประกอบการควรเสนอให้ผู้ซื้อในเวียดนามเปิด L/C ชนิดเพิกถอนไม่ได้ ซึ่งผู้ซื้อจะยกเลิกหรือแก้ไข L/C โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ขายก่อนไม่ได้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่ได้รับการชำระค่าสินค้า
ข้อจำกัดด้านสาธารณูปโภค
แม้ ว่าเวียดนามจะมีการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจัยด้านสาธารณูปโภคยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะในเขตนอกเมือง อาทิ ถนนที่ยังแคบต่อการคมนาคมขนส่งสินค้า ซึ่งไม่สามารถใช้ความเร็วได้ ในปัจจุบัน ยานพาหนะที่ใช้การขนส่งจะถูกจำกัดการใช้ความเร็วอยู่ที่ประมาณ 60-80 กม.ต่อชั่วโมง โดยโครงข่ายถนนเกือบทั้งหมดจะมีขนาด 2 ช่องจราจร จึงทำให้การขนส่งต้องทางบกต้องใช้เวลาและอาจจะทำให้ต้นทุนในการขนส่งสูงขึ้น
เวียดนาม มักจะประสบกับปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งซึ่งเวียดนามมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำจึงเป็นสาเหตุ หนึ่งที่ทำให้มีการขาดแคลนไฟฟ้า อีกทั้งความต้องการใช้ไฟฟ้าจากภาคอุตสาหกรรมมีปริมาณสูง จึงทำให้กระแสไฟฟ้าถูกผันไปสู่กระบวนการผลิตทางด้านอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ก่อให้เกิดการคลาดแคลนกระแสไฟในบางช่วงเวลา ทั้งนี้ รัฐบาลเวียดนามอยู่ระหว่างการเร่งพัฒนาโรงไฟฟ้าเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนให้มี เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต
<
แรงงานยังขาดทักษะด้านการทำงาน
แม้ เวียดนามจะมีแรงงานเป็นจำนวนมาก แต่แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะในการทำงาน ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการต้องจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น และผู้ประกอบการต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกฝนทักษะการทำงานให้แก่แรงงาน ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการอาจสูงขึ้นได้
ปัญหาภัยธรรมชาติ
ใน ช่วงปีที่ผ่านมา เวียดนามประสบปัญหาภัยธรรมชาติต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลงทุนของ นักลงทุนต่างชาติ อาทิ ปัญหาภัยแล้ง ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเสียหายทางด้านพืชผลการเกษตรอีกทั้งยังก่อให้เกิด ปัญหาการขาดแคลนกระแสไฟฟ้า เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าของเวียดนามอาศัยพลังงานน้ำเป็นสำคัญ จึงทำให้มีน้ำไม่เพียงพอต่อการผลิต นอกจากนี้ เวียดนามมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย อันเนื่องมาจากพายุไต้ฝุ่น ซึ่งพัดถล่มภาคกลางของเวียดนามเป็นประจำทุกปี
(แหล่งข้อมูล: สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ปี 2550 หรือสามารถค้นหาได้ที่http://www.boi.go.th)
อีเมลสถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์
ติดต่อทั่วไป
แผนกเศรษฐกิจ
แผนกกงสุล (หนังสือเดินทาง, นิติกรณ์และทะเบียนราษฎร์, บัตรประชาชน, การตรวจลงตราและรับรองเอกสาร)