วันที่นำเข้าข้อมูล 22 พ.ย. 2560
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565
จังหวัดเตี่ยนยาง
ข้อมูลทั่วไป
จังหวัดเตี่ยนยางเป็น 1 ใน 13 จังหวัดที่อยู่บริเวณเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่ติดชายทะเล ห่างจาก
นครโฮจิมินห์ 70 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดหวินลอง ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดด่งท้าป และติดกับจังหวัดเบ๊นแจทางทิศใต้ จังหวัดเตี่ยนยางมีที่ดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชเขตร้อน จังหวัดเตี่ยนยางมีเมืองหมีทอเป็นเมืองหลักด้านเศรษฐกิจ การศึกษาและเทคโนโลยี โดยเมืองหมีทอเคยเป็นจังหวัดมาก่อนและ
ในปี 2519 หลังจากสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศรวมจังหวัดหมีทอ จังหวัดก่อกงและเมืองหมีทอเป็นจังหวัดเตี่ยนยางในปัจจุบัน
เนื้อที่ทั้งหมด – 2,508 ตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากรในปี 2561 – 1,763,927 คน
GDRP ในปี 2561 – 84.02 ล้านล้านด่ง (3.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในจำนวนนั้น ภาคการเกษตร ประมงและ
ป่าไม้ มีมูลค่าร้อยละ 36.9 (ลดลงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปี 2560) ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง มีมูลค่าร้อยละ 26.8 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับปี 2560) และภาคการบริการและภาษีมูลค่าเพิ่ม มีมูลค่าร้อยละ 36.3 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับปี 2560)
รายได้เฉลี่ยต่อคนในปี 2561 – 2,037 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี เพิ่มขึ้น 163 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับปี 2560
โครงสร้างด้านการคมนาคม –จังหวัดเตี่ยนยางมีสะพานข้ามระหว่างจังหวัดคือสะพาน Bach Mieuเชื่อมกับจังหวัดเบ๊นแจ สะพาน Co Chien เชื่อมกับจังหวัดจ่าวิงห์ จังหวัดเตี่ยนยางมีทางเชื่อมต่อกับนครโฮจิมินห์โดยใช้ถนนหลวงหมายเลข 1 และทางด่วน Ho Chi Minh – Trung Luong ระยะเวลาเดินทาง 1 ชั่วโมงครึ่งโดยรถยนต์ และมีถนนหลวงหมายเลข 60 และ 57 เพื่อเชื่อมต่อไปจังหวัดหวิงลองและจ่าวิงห์
ภาคการเกษตร ประมง ป่าไม้ – ในปี 2561 มีรายได้ 48.62 ล้านล้านด่ง (2.09 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับปี 2560 จังหวัดเตี่ยนยางมีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 206,003 เฮกตาร์ ลดลงร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับปี 2560 ในจำนวนนั้น เป็นนาข้าวร้อยละ 201,265 เฮกตาร์ มีผลผลิตข้าวทั้งหมด 1.25 ตัน และมีพื้นที่การประมง 16,911 เฮกตาร์ ลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับปี 2560 มีผลผลิตการประมงทั้งหมด 292,337 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับปี 2560
ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง – ในปี 2561 มีรายได้ 98.69 ล้านล้านด่ง เติบโตขึ้นร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับ
ปี 2560 จังหวัดได้อนุมัตินิคมอุตสาหกรรมแล้ว 7 แห่ง พื้นที่รวม 2,083.5 เฮกตาร์ ในจำนวนนั้น เปิดดำเนินการแล้ว 4 แห่ง มีคลัสเตอร์อุตสาหกรรรม 27 แห่ง ในจำนวนนั้น เปิดดำเนินการแล้ว 4 แห่ง
ภาคการค้าและการบริการ – ในปี 2561มีมูลค่าทั้งหมด 56.577 ล้านล้านด่ง (2.44 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับปี 2560
การท่องเที่ยว – ในปี 2561 มีนักท่องเที่ยว 1.91 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 636,500 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับปี 2560 มีรายได้จากการท่องเที่ยว 11.947 ล้านล้านด่ง (ประมาณ 515.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับปี 2560
การส่งออกและนำเข้าสินค้าในปี 2561
มูลค่าการส่งออก – 2.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับปี 2560
มูลค่าการนำเข้า – 1.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.9 เมื่อเทียบกับปี 2560
การลงทุน
ในปี 2561 จังหวัดเตี๋ยนยางมีโครงการลงทุนทั้งหมด 28 โครงการ เพิ่มขึ้น 12 โครงการจากปี 2560 มูลค่า
การลงทุนรวม 8.257 ล้านล้านด่ง (356.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มากกว่ามูลค่าการลงทุนในปี 2560 3.9 เท่า และมีโครงการที่เพิ่มเงินลงทุน 14 โครงการ มูลค่า 3.565 ล้านล้านด่ง (153.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.9 เมื่อเทียบกับปี 2560
ในจำนวนโครงการที่ลงทุน เป็นการลงทุนภายในประเทศ 18 โครงการ มูลค่าการลงทุน 1.57 ล้านล้านด่ง
(68.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มีโครงการที่เพิ่มเงินลงทุน 1 โครงการ มูลค่า 1.05 ล้านล้านด่ง (45.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ได้ 10 โครงการ มูลค่ารวม 6.67 ล้านล้านด่ง (288.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มีโครงการที่เพิ่มเงินลงทุน 13 โครงการ มูลค่ารวม 2.51 ล้านล้านด่ง (108.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
อุตสาหกรรมที่จังหวัดสนับสนุนให้เข้ามาลงทุน
การเกษตร – การเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง / การบรรจุภัณฑ์และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
อุตสาหกรรมและการก่อสร้าง – การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน / วิศวกรรมการเกษตร/ อุตสาหกรรมกลางน้ำ / โรงงานผลิตรองเท้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยายนต์ เครื่องจักร เป็นต้น
การค้าและการบริการ – ห้างสรรพสินค้า / ธนาคาร / โรงแรมระดับ 3 – 4 ดาว / รีสอร์ท / สถานที่ท่องเที่ยวชายทะเลและสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
การลงทุนโดยตรงจากประเทศไทย
นักลงทุนไทยลงทุนในจังหวัดเตี่ยนยางมี 4 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 2.55 ของมูลค่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมดภายในจังหวัด
ลำดับ |
ชื่อ |
ปีที่เริ่มลงทุน |
มูลค่าเงินลงทุน (ดอลลาร์สหรัฐ) |
ที่ตั้ง |
ประเภทธุรกิจ |
1 |
Royal Can Industries |
พ.ศ. 2550 |
21,000,000 |
เขตอุตสาหกรรม My Tho |
อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ |
2 |
CPVN |
พ.ศ. 2543 |
11,450,000 |
เขตอุตสาหกรรม My Tho |
อุตสาหกรรมผลิตอาหารเพื่อการปศุสัตว์ |
3 |
Royal Food Viet Nam |
พ.ศ. 2547 |
13,000,000 |
เขตอุตสาหกรรม My Tho |
อุตสาหรรมแปรรูปอาหารทะเล |
4 |
Union Viet Nam |
พ.ศ. 2551 |
6,000,000 |
เขตอุตสาหกรรม My Tho |
อุตสาหกรรมผลิตอาหารทะเลแปรรูป |
เขตอุตสาหกรรม
ในปัจจุบัน จังหวัดเตี่ยนยางมีเขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ได้แก่
โครงการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
No. |
Name of project |
Location |
Project scale |
Investment capital |
Investment mode |
1 |
Garment plant |
Binh Hoa Dong Hamlet, Binh Nhi Commune, Go Cong Tay District |
Area of 4,578.4 m2 |
15 billion VND |
100% capital of domestic or foreign investor |
2 |
My Tho Trade Center |
Ward 1, My Tho City |
Area of 6,002.7 m2 |
100 billion VND |
100% capital of domestic or foreign investor |
3 |
Tan Huong Trade Center |
Tan Phu Hamlet, Tan Huong Commune, Chau Thanh District (Tan Huong Resettlement Area) |
Area of 8,600 m2 |
15 billion VND |
100% capital of domestic or foreign investor |
4 |
Long Thuan market |
Long Thuan commune, Go Cong town |
Area of 4,815 m2 |
4.5 billion VND |
100% capital of domestic or foreign investor |
5 |
Apartment - Social housing |
Trung An commune, My Tho city |
186,600 m2 of floor area, Land area of 3.11 ha |
1.600 trillion VND |
100% capital of domestic or foreign investor |
อีเมลสถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์
ติดต่อทั่วไป
แผนกเศรษฐกิจ
แผนกกงสุล (หนังสือเดินทาง, นิติกรณ์และทะเบียนราษฎร์, บัตรประชาชน, การตรวจลงตราและรับรองเอกสาร)