การทำหนังสือเดินทาง

การทำหนังสือเดินทาง

วันที่นำเข้าข้อมูล 17 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 26 พ.ค. 2566

| 19,302 view

การขอทำหนังสือเดินทาง

1. ข้อมูลทั่วไป
    1. ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 กำหนดให้ออกหนังสือเดินทางไทยแก่บุคคลสัญชาติไทยเท่านั้น

    2. ผู้ขอต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยที่มีถิ่นพำนักถาวรหรือพำนักระยะยาวในประเทศเวียดนาม และต้องเป็นการทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ทดแทนเล่มเดิมที่หมดอายุ ใกล้หมดอายุ ชำรุด สูญหาย หรือมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล 

    3. ผู้ขอต้องมายื่นคำขอด้วยตนเอง เพื่อเก็บลายนิ้วมือ และถ่ายภาพ

    4. การผลิตเล่มหนังสือเดินทางจะผลิตที่ประเทศไทย และอาจใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ นับจากวันมาติดต่อ ผู้ขอหนังสือเดินทางจะต้องเดินทางมารับเล่มด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ โดยนำใบรับเล่ม และหนังสือเดินทางเล่มเดิมมาด้วย (หากไม่สามารถมารับเล่มด้วยตนเองได้ อาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นมารับแทนได้)

    5. ค่าธรรมเนียม (รับชำระเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น)

         - หนังสือเดินทาง 5 ปี 40 ดอลลาร์สหรัฐ 

         - หนังสือเดินทาง 10 ปี 55 ดอลลาร์สหรัฐ 

    6. กรุณานัดหมายล่วงหน้า (click)

 

2. การเตรียมเอกสารประกอบการยื่นคำร้อง

      2.1 กรณีผู้ขอบรรลุนิติภาวะแล้ว (อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป)

            ให้ผู้ขอมายื่นคำขอทำหนังสือเดินทางด้วยตนเอง โดยมีหลักฐานและเอกสารประกอบ ดังนี้
            1. แบบกรอกข้อมูลขอทำหนังสือเดินทาง 1 ชุด และติดรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. 1 ใบ

            2. บัตรประชาชนฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด

            3. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด (หากมี)

            4. หนังสือเดินทางฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด

 

    2.2 กรณีผู้ขอยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุต่ำกว่า 20 ปี)

          บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์) ให้ยื่นคำขอด้วยตนเองโดยมีบิดามารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรมเดินทางมาลงนามให้ความยินยอมด้วย พร้อมหลักฐานและวิธีการ ดังนี้

          2.2.1. เอกสารของบุตร (ผู้ขอ)

                    1. แบบกรอกข้อมูลขอทำหนังสือเดินทาง 1 ชุด และติดรูปถ่ายขนาด 4x6 ซม. 1 ใบ 

                    2. บัตรประชาชนฉบับจริง 1 ชุด (หากมี) พร้อมสำเนา

                    3. สำเนาสูติบัตรไทย 1 ชุด

                    4. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด (ยกเว้นกรณีขอทำหนังสือเดินทางเล่มแรกให้บุตร ไม่ต้องแสดงทะเบียนบ้าน)

                    5. หนังสือเดินทางฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด (ยกเว้นกรณีขอทำหนังสือเดินทางเล่มแรก)

           2.2.2 เอกสารของบิดามารดา

                    (ก)  กรณีปกครองบุตรร่วมกัน

                          1. บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดาและมารดาที่ยังมีอายุ พร้อมสำเนา 1 ชุด

                          2. กรณีบิดา/มารดาเป็นคนต่างชาติ  แสดงหนังสือเดินทางฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด

                          ** บิดาและมารดาต้องมาลงนามพร้อมกันทั้งบิดาและมารดา ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ กรณีผู้ปกครองคนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาลงนามได้ หรือหากคนใดคนหนึ่งอยู่ประเทศไทยไม่สามารถเดินทางมาลงนามได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ จะต้องมีหนังสือยินยอม (มีอายุไม่เกิน 90 วัน) จากผู้ปกครองคนที่ไม่สามารถมาแสดงตนได้ ออกโดยที่ว่าการอำเภอ/สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่  และสำเนาบัตรประชาชนไทยของผู้ให้ความยินยอม ที่ลงนามกำกับ มาแสดงด้วย (รายละเอียด)

                   (ข)  กรณีมีอำนาจปกครองบุตรฝ่ายเดียว (เอกสารประกอบที่ต้องใช้ ตามแต่กรณี ดังนี้)

                          1. บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดาและมารดาที่ยังมีอายุ พร้อมสำเนา 1 ชุด

                          2. กรณีบิดา/มารดาเป็นคนต่างชาติ  แสดงหนังสือเดินทางฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด

                          3. หลักฐานการมีสิทธิปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                              (1) กรณีที่บิดาหรือมารดาไม่เคยจดทะเบียนสมรส ต้องนำสำเนาใบปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (ปค.14) ที่ระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครองบุตร
                              (2) กรณีที่บิดามารดาจดทะเบียนหย่า ต้องนำสำเนาใบสำคัญการหย่า เช่น ทะเบียนหย่าและบันทึกการหย่าที่ระบุการมีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมาด้วย
                              (3) กรณีบิดาหรือมารดาเสียชีวิต ต้องนำสำเนาใบมรณบัตรของไทยมาแสดงด้วย กรณีใบแสดงการเสียชีวิตเป็นภาษาต่างชาติ ต้องแปลเป็นภาษาไทย และผ่านขั้นตอนการรับรองเอกสารให้เรียบร้อยก่อน
                              (4) กรณีผู้ปกครองเป็นชาวไทยและชาวต่างชาติทำการหย่า (เอกสารที่มิใช่ภาษาไทย) หากคำสั่งศาลหรือหนังสือปกครองบุตรออกให้โดยฝ่ายเวียดนาม จะต้องนำเอกสารดังกล่าวไป
                                  (4.1) รับรองผ่านกระทรวงการต่างประเทศของสวีเดน/ลัตเวีย
                                  (4.2) แปลเป็นภาษาไทย
                                  (4.3) รับรองจากสถานเอกอัครราชทูตฯ/สถานกงสุลใหญ่ฯ ก่อน จึงจะสามารถใช้ประกอบคำร้องหนังสือเดินทางของผู้เยาว์ได้
                             (5) กรณีผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม ต้องมีเอกสารสำเนาทะเบียนรับบุตรบุญธรรมของไทยมาแสดง

 

**************************************************************************

คำแนะนำการใช้หนังสือเดินทางสำหรับผู้มีหนังสือเดินทาง 2 เล่ม 2 สัญชาติ 
 
1. ผู้เดินทางใช้หนังสือเดินทางเล่มใดเข้าประเทศ ต้องใช้เล่มนั้นเดินทางออก
เช่น เดินทางเข้า-ออกประเทศไทยโดยใช้หนังสือเดินทางไทย เดินทางเข้า-ออกเวียดนามโดยใช้หนังสือเดินทางเวียดนาม 
 
2. เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะไม่อนุญาตให้ผู้เดินทางใช้หนังสือเดินทางต่างเล่มในการแจ้งเข้า-ออกประเทศไทย
เนื่องจากจะทำให้การบันทึกข้อมูลการเดินทางเข้า-ออกประเทศไทย ในฐานข้อมูลการตรวจคนเข้าเมืองไม่สมบูรณ์ อาจสร้างความสับสนและนำไปสู่ความผิดฐานเข้า-ออกเมืองโดยผิดกฎหมายแก่ผู้เดินทางเองได้
เช่น กรณีใช้หนังสือเดินทางต่างประเทศเข้าเมือง แต่ไม่ได้ใช้แจ้งออกเมือง ก็จะไม่ได้รับการบันทึกการเดินทางออก ซึ่งอาจทำให้ปรากฏในฐานข้อมูลว่าผู้เดินทางอยู่เกินกำหนดได้รับอนุญาต 
 
3. หนังสือเดินทางไทยควรจะยังมีอายุการใช้งานก่อนการเดินทางเข้า-ออกประเทศไทย
 
4. ผู้เดินทางที่ใช้หนังสือเดินทางต่างประเทศแจ้งเข้าเมือง จะได้รับอนุญาตให้พำนักในประเทศไทย ภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามประเภทของการตรวจลงตราที่ผู้เดินทางได้รับ หรือตามความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรา ผู้เดินทางต้องเดินทางออกก่อนการอนุญาตสิ้นสุดลง หากประสงค์จะพำนักอยู่ต่อในประเทศไทย ผู้เดินทางจะต้องปฏิบัติตามระเบียบ/ข้อบังคับในการขออนุญาตขยายเวลาพำนักกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในฐานะคนต่างชาติ
 

เอกสารประกอบ

Passport_Application_Form
หนังสือมอบอำนาจทำหนังสือเดินทาง