จังหวัดบ่าเหรี่ยะ - หวุงเต่า (Ba Ria - Vung Tau)

จังหวัดบ่าเหรี่ยะ - หวุงเต่า (Ba Ria - Vung Tau)

วันที่นำเข้าข้อมูล 10 ก.พ. 2560

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 3,266 view

บ่าเหรี่ยะ-หวุงเต่า (Bà Rịa – Vũng Tàu)

ข้อมูลทั่วไป

จังหวัดบ่าเหรี่ยะ – หวุงเต่าเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเวียดนาม โดยตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจหลักของเวียดนาม อยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ 120 กิโลเมตร อีกทั้งเป็นประตูสู่เส้นทางเดินทะเลนานาชาติ และยังเป็นจุดสิ้นสุดของเส้นทาง Southern Economic Corridor และ Trans Asia ที่เชื่อมระหว่างเวียดนามและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน

จังหวัดมีข้อได้เปรียบในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมหลายประการ อาทิ ท่าเรือน้ำลึก ศักยภาพด้านโลจิสติกส์ ทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมที่เพียบพร้อม ที่ช่วยให้จังหวัดสามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่และภูมิภาคอื่น ๆ ได้สะดวก ส่งผลให้ในระยะเวลาที่ผ่านมา การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและสามารถดึงดูดโครงการลงทุนจากในและต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก

เนื้อที่ทั้งหมด – 1,988.64 ตารางกิโลเมตร

จำนวนประชากร ประมาณ 1.11 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.09 เมื่อเทียบกับปี 2560 มีจำนวนแรงงาน 586,122 คน คิดเป็นร้อยละ 52.63 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

ความหนาแน่นของจำนวนประชากร – 558 คน/ตารางกิโลเมตร

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2561 – หากไม่รวมอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มาจากอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ จังหวัดมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจร้อยละ 7.2 ค่า GRDP ในปี 2561 มีมูลค่า 149.65 ล้านล้านด่ง (6.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

รายได้เฉลี่ยต่อคน/ปี ในปี 2561 ประมาณ 134.4 ล้านด่ง/คน/ปี (5,881.2 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี)

ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง – ในปี 2561 ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างมีมูลค่าการผลิต 252.55 ล้านล้านด่ง (1.86 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.73 เมื่อเทียบกับปี 2560 อุตสาหกรรมหลักของจังหวัดบาเหรี่ยะ-หวุงเต่า ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ อุตสาหกรรมการผลิตและการแปรรูป

สินค้าหลักของจังหวัด ได้แก่

- น้ำมันดิบ – ผลิตได้ 11.87 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 12.06 จากปี 2560

- แก๊สธรรมชาติ – ผลิตได้ 8.61 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.72 จากปี 2560

- กุ้งแช่แข็ง – ผลิตได้ 10,561 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.25 จากปี 2560

- น้ำมันถั่วเหลือง – ผลิตได้ 1.23 พันล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.16 จากปี 2560

- ไฟฟ้า – ผลิตได้ 3 หมื่นกิโลวัตต์ ลดลงร้อยละ 0.14 จากปี 2560

ภาคการท่องเที่ยว – ในปี 2561 จังหวัดบ่าเหรี่ยะ – หวุงเต่ามีนักท่องเที่ยวทั้งหมด 5.4 ล้านคน เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 12.78 เมื่อเทียบกับปี 2560

ภาคการเกษตร ประมงและป่าไม้ – ในปี 2561 ภาคการเกษตรมีมูลค่าการผลิต 8.248 ล้านล้านด่ง (620 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.32 เมื่อเทียบกับปี 2560 ภาคป่าไม้มีมูลค่าการผลิตทั้งหมด 7.4 หมื่นล้านด่ง (3.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.23 เมื่อเทียบกับปี 2560 และภาคการประมงมีมูลค่าการผลิต 10.33 ล้านล้านด่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.46

รายได้จากการนำเข้าและส่งออกในปี 2561

  • มูลค่าการส่งออก ได้แก่ 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.74 เมื่อเทียบกับปี 2560
    • ในจำนวนนั้น จังหวัดบ่าเหรี่ยะ – หวุงเต่าส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทยรวมมูลค่า 644.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทสิ่งทอและรองเท้า เหล็กและเหล็กกล้า น้ำมันดิบ
  • มูลค่าการนำเข้า ได้แก่ 6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.38 เมื่อเทียบกับปี 2560
    • ในจำนวนนั้น จังหวัดบ่าเหรี่ยะ – หวุงเต่านำเข้าสินค้าจากประเทศไทยรวมมูลค่า 69.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทสิ่งทอ รองเท้าและสารเคมี

การลงทุน

- ในปี 2561 จังหวัดมีโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ลงทุนใหม่ 44 โครงการและเพิ่มเงินลงทุน
14 โครงการ รวมมูลค่าการลงทุน 1.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงสิ้นปี 2561 จังหวัดมีโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติทั้งหมด 351 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 2.73 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในจำนวนนั้น อยู่ในเขตอุตสาหกรรม 189 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 1.09 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และอยู่นอก
เขตอุตสาหกรรม 162 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 1.63 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

- ในปี 2561 จังหวัดมีโครงการลงทุนจากภายในประเทศ 59 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 18.76 ล้านล้านด่ง (806.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จนถึงสิ้นปี 2561 จังหวัดมีโครงการลงทุนจากภายในประเทศทั้งหมด
532 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 276 ล้านล้านด่ง (1.18 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในจำนวนนั้น อยู่ใน
เขตอุตสาหกรรม 187 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 118.94 ล้านล้านด่ง (5.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
และอยู่นอกเขตอุตสาหกรรม 345 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 157.06 ล้านล้านดอลลาร์ด่ง
(6.74 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ข้อได้เปรียบและศักยภาพในการลงทุนในจังหวัดบ่าเหรี่ยะ-หวุงเต่า

1. ระบบท่าเรือน้ำลึกท่าเรือ Cai Mep ในจังหวัดบ่าเหรี่ยะ-หวุงเต่าเป็นท่าเรือน้ำลึก มีพื้นที่ทั้งหมด 4 แสนตารางกิโลเมตร สามารถรองรับสินค้าได้ 1.6 ล้าน TEUs /ปี ขนาดความลึก 14 เมตร และสามารถรองรับเรือที่มีน้ำหนักได้กว่า 160,000 DWT

2. การคมนาคม/การขนส่งโลจิสติกส์ – การขนส่งสินค้าและบริการทางโลจิสติกส์ในจังหวัดสามารถทำได้โดยง่าย โดยมีทางเชื่อมต่อทางบกกับเมืองและสถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่ง อาทิ เมือง Bien Hoa ท่าเรือน้ำลึก Cai Mep และนครโฮจิมินห์และทางน้ำที่เชื่อมต่อกับนครโฮจิมินห์ผ่านแม่น้ำ Thi Vai นอกจากนั้น ยังอยู่ไม่ไกลจากสนามบินนานาชาติ Long Thanh ที่มีแผนการจะสร้างในอนาคตอีกด้วย

3. ทรัพยากรมนุษย์ – ในปี 2561 จังหวัดมีประชากรประมาณ 1.1 ล้านคน มีแรงงานประมาณร้อยละ 52 ของจำนวนประชากรทั้งหมด โดยในจำนวนนั้น เป็นแรงงานทักษะร้อยละ 70

4. โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมที่ครอบคลุม – จังหวัดมีการเชื่อมต่อกับทางหลวงรวมระยะทาง 130 กิโลเมตร เชื่อมต่อกับแม่น้ำ มีท่าเรือน้ำลึก รวมถึงสนามบิน 2 แห่ง ได่แก่สนามบินหวุงเต่า สำหรับเฮลิคอปเตอร์และสนามบินกอนด่าว เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว

โครงการการลงทุนของนักลงทุนไทยในจังหวัด

จังหวัดมีโครงการลงทุนจากนักทุนไทย 5 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 3.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็น
ผู้ลงทุนรายใหญ่อันดับที่ 4 ในจังหวัด

(1) Baconco Co.,Ltd. – โครงการผลิตปุ๋ย NPK มูลค่าการลงทุน 30,885,128 ดอลลาร์สหรัฐ

(2) Da Nang SSCORP Ltd. (Vung Tau) – โครงการแปรรูปผลผลิตการเกษตร มูลค่าการลงทุน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

(3) C.P. Vietnam Livestock JSC (Ba Ria – Vung Tau Branch) –ประเภทฟาร์มเพาะเลี้ยงพันธุ์กุ้ง
มูลค่าการลงทุน 8,870,000 ดอลลาร์สหรัฐ

(4) โครงการ Long Son Petrochemicals Co.,Ltd. – เป็นการลงทุนของบริษัท SCG ร้อยละ 100 มีมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 3.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ LSP เป็นโครงการปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกของเวียดนาม มีความสามารถในการแข่งขันในเชิงธุรกิจเนื่องจากเป็นโครงการที่มีการเชื่อมโยงจากโรงงานปิโตรเคมีขั้นต้นถึงขั้นปลายครบวงจร มีความประหยัดจากขนาด (Economies of scale) และสามารถใช้วัตถุดิบได้อย่างหลากหลาย บนพื้นที่กว่า 464 เฮกตาร์ นอกจากนี้ LSP ยังมีการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจการ เช่นท่าเรือน้ำลึก และสาธารณูปโภคต่าง ๆ ซึ่งมีมูลค่าประมาณร้อยละ 30 ของเงินลงทุนทั้งหมด

(5) MM Mega Market Vung Tau – มูลค่าการลงทุน 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เขตอุตสาหกรรมของจังหวัดที่สนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน

(1) เขตอุตสาหกรรม ChauDucมีพื้นที่ 73.64 เฮกตาร์ (จุดกระจายสินค้าภาคพื้น)

(2) เขตอุตสาหกรรม Phu My III มีพื้นที่ 131.71 เฮกตาร์

(3) เขตอุตสาหกรรม B Dai Duong มีพื้นที่ 2.61 เฮกตาร์

(4) เขตอุตสาหกรรม Thien Hung มีพื้นที่ 5.39 เฮกตาร์

(5) เขตอุตสาหกรรม Phu My II มีพื้นที่ 18.47 เฮกตาร์

(6) เขตอุตสาหกรรม CaiMepมีพื้นที่ 40 เฮกตาร์

ในปัจจุบันมีเขตอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 15 เขตอุตสาหกรรม พื้นที่รวม 8,510 เฮกตาร์ ได้แก่

ลำดับ

ชื่อนิคมอุตสาหกรรม

ขนาด (เฮกตาร์)

โครงการที่สนับสนุนให้เข้ามาลงทุน

1

Dong Xuan Industrial Zone

160

อุตสาหกรรมพลังงาน การต่อเรือการประกอบรถยนต์ และอื่นๆ

2

Phu My I Industrial Zone

959.38

อุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ ปุ๋ยและสารเคมี เหล็ก และการผลิตปูนซีเมนต์

3

My Xuan A Industrial Zone

-

อุตสาหกรรมเบา

4

My Xuan A2 Industrial Zone

422.22

อุตสาหกรรมเบา การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักกล

5

Long Son – Petroleum Industrial Zone

850

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

6

Phu My II Industrial Zone

1,023.6

อุตสาหกรรมเครื่องจักกล อิเล็กทรอนิกส์ และอื่นๆ

7

CaiMep Industrial Zone

670

อุตสาหกรรมหนักที่เกี่ยวข้องกับท่าเรือ การต่อเรือ/การซ่อมแซมเรือ และอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร

8

My Xuan B1-Conac Industrial Zone

227.14

อุตสาหกรรมเบา

9

My Xuan B1- Tien Hung Industrial Zone

200

อุตสาหกรรมเบา

10

My Xuan B1- Dai Dung Industrial Zone

145.7

อุตสาหกรรมจักกล อุตสาหกรรมการซ๋อมแซมและประกอบ อุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าทางการเกษตรและอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอื่นๆ

11

Phu My III Intensive Industrial Zone

999

อุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมสนับสนุน และอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

12

Chau Duc Industrial Zone

1,550.24 ha

อุตสาหกรรมผลิตและประกอบสินค้าและอุปกรไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ

13

Dat Do 1 Industrial Zone

496.22

อุตสาหกรรมสะอาด อุตสาหกรรมการบริการ และอื่นๆ

14

Long Huong Industrial Zone

400

อุตสาหกรรมการผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ เคเบิ้ล เวชภัณฑ์ และอื่นๆ

15

Da Bac Industrial Zone

300

อุตสาหกรรมสหวิทยาการ

 

โครงการที่สนับสนุนให้มีการลงทุน – คณะกรรมการประชาชนจังหวัดบ่าเหรี่ยะ – หวุงเต่าสนับสนุนให้
มีการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เคมีภัณฑ์และส่วนประกอบเครื่องยนต์ รวมถึงวัสดุต่าง ๆ ที่จะใช้
ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ต่อไป อาทิ พลาสติก พอลิเมอร์ ใยแก้ว ใยคาร์บอน เป็นต้น