วันที่นำเข้าข้อมูล 10 ก.พ. 2560
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
นครดานัง
ข้อมูลทั่วไป
นครดานังตั้งอยู่ในบริเวณภาคกลางเวียดนาม มีระยะห่างจากกรุงฮานอย 764 กิโลเมตร และห่างจาก
นครโฮจิมินห์ 964 กิโลเมตร นครดานังถือเป็นประตูสู่ทะเลจีนใต้ ตามระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก–ตะวันตกที่พาดผ่าน 13 จังหวัดใน 4 ประเทศ (เมียนมา ไทย ลาว เวียดนาม) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในอนุภูมิภาคของประเทศเวียดนาม และเป็นจังหวัดลำดับที่ 1 ในดัชนีการแข่งขันของจังหวัด (Provincial Competitive Index: PCI) 4 ปีติดต่อกันนับตั้งแต่ปี 2555 – 2559 (ได้ลำดับที่ 2ในปี 60) นอกจากนั้น นครดานัง ยังคงเป็นกลุ่มจังหวัดที่รัฐบาลส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ เนื่องจากมีข้อได้เปรียบเรื่องการเชื่อมโยงทางบกด้านปลายสุดของเส้นทาง EWEC และทางอากาศ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อม โดยในเดือนกรกฏาคม 2560 สนามบินนานาชาตินครดานังได้เปิดอาคารผู้โดยสารนานาชาติอาคารใหม่เพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพการประชุม APECในปี 2560
พื้นที่ทั้งหมด – 1,283 ตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากรในปี 2561 – 1,048,860 คน
รายได้เฉลี่ยต่อคนในปี2561 – ประมาณ 83.17 ล้านด่ง/คน/ปี (3,612 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับปี 2560
GDRP ในปี 2561 – มีมูลค่า 72.67 ล้านล้านด่ง (3.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.86 เมื่อเทียบกับปี 2560
ภาคการเกษตรประมงปละป่าไม้ ในปี 2561 –มีมูลค่า 1.06ล้านล้านด่ง (45.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.24 เมื่อเทียบกับปี 2560
ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง ในปี 2561 –มีมูลค่า 20.11ล้านล้านด่ง (863.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.33เมื่อเทียบกับปี 2560
ภาคการบริการในปี 2561– มีมูลค่า 42.28 ล้านล้านด่ง (1.81 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับปี 2560
ในปี 2560 นครดานังมีเที่ยวบินตรงจากต่างประเทศจำนวน 31 เส้นทาง โดยมีเที่ยวบินเฉลี่ยสัปดาห์ละ
269 เที่ยวบิน
โครงสร้างแรงงาน – มีแรงงานมากกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนประชากร โดยในจำนวนดังกล่าว มีแรงงานที่ผ่านการอบรมกว่าร้อยละ 47 อัตราการว่างงานร้อยละ 3.8และค่าแรงขั้นต่ำ135 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน
สินค้าอุตสาหกรรมหลัก
โครงสร้างด้านการคมนาคม – ถนนในนครดานังมีความยาวรวม 330 กิโลเมตรโดยแบ่งเป็นทางหลวงแผ่นดิน 70 กิโลเมตร ทางหลวงจังหวัด 99 กิโลเมตร ทางหลวงชนบท 81 กิโลเมตร และทางหลวงภายในตัวเมือง 81 กิโลเมตร ดานังมีอุโมงค์ Hai Van ความยาว 6.28 กิโลเมตรที่เป็นจุดสำคัญในการคมนาคมที่เชื่อมต่อระหว่างนครดานังกับจังหวัดเถื่อเทียนเว้ นอกจากนี้นครดานังยังมีสนามบินนานาชาติ ท่าเรือน้ำลึก
และการคมนาคมระบบรางเพื่อเชื่อมโยงนครกับภูมิภาคต่างๆ ของเวียดนามตลอดจนต่างประเทศ
ท่าเรือดานัง
ท่าเรือนครดานังสร้างเมื่อปี 2511 และเป็นท่าเรือที่ใหญ่ลำดับสามของเวียดนามรองจากท่าเรือนครโฮจิมินห์และท่าเรือนครไฮฟอง ในปี 2559 ท่าเรือดานังสามารถรองรับสินค้าได้กว่า 7.2 ล้านตัน มีพื้นที่
12 ตารางกิโลเมตร ความลึก 17 เมตร ท่าเรือดานังประกอบด้วยสองท่าเรือย่อยคือท่าเรือเตียนซาและ
ท่าเรือซงห่านซึ่งสามารถรองรับเรือที่บรรทุกน้ำหนักสูงสุดได้ 45,000 DWT มีพื้นที่เก็บสินค้า 229,265
ตารางเมตรแบ่งเป็นคลังเก็บสินค้า 29,204 ตารางเมตร และพื้นที่เก็บสินค้าแบบเปิด 173,610 ตารางเมตร
ในปี 2559 ท่าเรือดานังรับสินค้าทั้งหมดจำนวน 7,255,000 ตัน แบ่งเป็นสินค้านำเข้า 2,249,948 ตัน สินค้าส่งออก 2,749,704 ตัน และสินค้าภายในประเทศ 2,255,348 ตัน จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต จำนวน 318,654 ตู้ และปัจจุบันกำลังดำเนินการสร้างท่าเรือย่อยเตียนซา ระยะที่ 2 เพื่อรองรับสินค้าที่จะเพิ่มขึ้น
ท่าเรือ Lien Chieu
ในระยะที่ผ่านมา นครดานังมีการใช้การคมนาคมทางน้ำอย่างหนาแน่นขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งสินค้าหรือนักท่องเที่ยว ทำให้เกิดอุบัติเหตุและการติดขัดจำนวนมาก นครดานังจึงมีโครงการสร้างท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ขึ้นมา คือ ท่าเรือ Lien Chieuจะมีพื้นที่ 220 เฮกตาร์ ทูลค่าการลงทุน 32.86 ล้านล้านด่ง (1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) แบ่งการก่อสร้างเป็น 3 ระยะ และคาดหวังว่าระยะแรกจะเสร็จสิ้นภายในปี 2565 ในระยะแรก โครงการฯ มีเป้าหมายให้ท่าเรือดังกล่าวสามารถรองรับเรือบรรทุกขนาด 100,000 DWT และเรือบรรทุกคอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุตได้ จำนวน 6,000-8,000 ลำ เพื่อให้มีศักยภาพการขนส่งสินค้าได้ประมาณ 17 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2565 โดยการดำเนินการในระยะแรกนี้ จะใช้เงินลงทุนมูลค่า 7.3 ล้านล้านด่ง (314.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยในจำนวนนั้นเป็นเงินลงทุนของภาครัฐมูลค่า 3.4 ล้านล้านด่ง (146.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)เมื่อแล้วเสร็จ นครดานังจะเปลี่ยนท่าเรือ Tien Sa ให้เป็นท่าเรือสำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยวแทน เนื่องจากท่าเรือ Tien Sa เป็นท่าเรือน้ำตื้น จึงไม่สามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ได้
มูลค่าการนำเข้าและส่งออกในปี 2561
การส่งออกในปี 2561 มีมูลค่า 1,557.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 12.40 เมื่อเทียบกับปี 2560
การนำเข้าในปี 2561 มีมูลค่า 1,504.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.54 เมื่อเทียบกับปี 2560
การส่งออกและนำเข้าสินค้า
สินค้าส่งออกหลัก
สินค้านำเข้าหลัก
การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในปี 2561
ในปี 2561 นครดานังมีโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ 126 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 155.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงเดือนมิถุนายน 2562 นครดานังมีโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมด 716 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 3.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยประเทศที่ลงทุนมากที่สุด ได้แก่ (1) สิงคโปร์ มูลค่าการลงทุน 829.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2) ญี่ปุ่น มูลค่าการลงทุนรวม 629.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3) สหรัฐฯ มูลค่าการลงทุนรวม 518.83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ (4) เกาหลีใต้ มูลค่าการลงทุนรวม 253.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โครงการที่พยายามส่งเสริมให้มีการลงทุน
ภาคบริการ
- โครงการการท่องเที่ยว
- โครงการอสังหาริมทรัพย์
- โครงการศูนย์การค้า
- โครงการพัฒนาสาธารณสุข
- โครงการพัฒนาคุณภาพบุคลากร / การศึกษา
- โครงการพัฒนาโลจิสติกส์
- โครงการการเงิน
- โครงการประกันภัย
- โครงการการขนส่งสินค้าทั้งทางบก / ทางเรือ
- โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ
- โครงการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน / กฎหมาย
- โครงการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอื่นๆ
ภาคอุตสาหกรรม
- โครงการเทคโนโลยีขั้นสูง
- โครงการผลิตซอฟแวร์
- โครงการผลิตเครื่องมือที่ใช้ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีโทรคมนาคม
- โครงการผลิตเครื่องมือ/อุปกรณ์ไฟฟ้า
- โครงการเทคโนโลยีชีวภาพ
- โครงการผลิตเครื่องมือหนัก
- โครงการผลิตวัตถุดิบ
- โครงการผลิตเครื่องมือปกป้องสิ่งแวดล้อม
- โครงการการเกษตรขั้นสูง
ทรัพยากรภายในนครดานัง
ทรัพยากรพื้นดิน
- พื้นที่เกษตรกรรม 117.22 ตารางกิโลเมตร
- พื้นที่อุตสาหกรรมป่าไม้ 514.21 ตารางกิโลเมตร
- พื้นที่ก่อสร้างพิเศษ (เขตอุตสาหกรรม การก่อสร้าง การชลประทาน คลังเก็บสินค้า ค่ายทหาร)
385.69 ตารางกิโลเมตร
-พื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัย 30.79 ตารางกิโลเมตร
-พื้นที่ว่าง 235.62 ตารางกิโลเมตร
-รวมพื้นที่ทั้งหมด 1283 ตารางกิโลเมตร
ทรัพยากรน้ำ
- นครดานังมีชายฝั่งยาว 70 กิโลเมตร มีพื้นที่การประมง 15,000 ตารางกิโลเมตร มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ประมาณ 670 ชนิด ในจำนวนดังกล่าว มีปลา 110 ชนิดเป็นปลาที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ นอกจากนั้นดานังยังมีชายหาดทะเลที่สวยงามอย่างเช่น ชายหาด Non Nuoc ชายหาด My Khe, ชายหาด Thanh Khe และชายหาด Nam O ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนมากซึ่งชายหาด Non Nuoc เป็นหนึ่งในชายหาดที่สวยที่สุด 6 แห่งของโลกโดยนิตยสาร Forbes
- นครดานังมีแม่น้ำหลัก 2 สายคือแม่น้ำ Han ที่มีความยาว 204 กิโลเมตรและมีอ่างเก็บน้ำ
5,180 ตารางกิโลเมตร และแม่น้ำ Cu De ที่มีความยาว 38 กิโลเมตรและมีอ่างเก็บน้ำ 426 ตารางกิโลเมตร
ทรัพยากรธรรมชาติ
- ทรายขาวสามารถพบได้ที่ชายหาด Nam O มีจำนวนประมาณ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ทรายสำหรับการก่อสร้างสามารถพบได้ทั่วไปตามชายหาดต่างๆ
- หินแกรนิตและหินสำหรับการก่อสร้างสามารถพบได้ทางตอนเหนือ ตะวันตก และตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด หินชนวนสามารถพบได้ในหมู่บ้าน Pho Nam และหมู่บ้าน Hoa Bac คาดว่ามีจำนวนประมาณ 500,000 ลูกบาศก์เมตร หินศิลาแลงสามารถพบได้ที่เหมืองแร่ Chau เหมืองแร่ Hoa Cam และเหมืองแร่ Phuoc Ninh
- น้ำแร่ธรรมชาติสามารถพบได้ที่พื้นที่ Dong Nghe โดยจะมีน้ำแร่ประมาณ 72 ลูกบาศก์เมตรในทุกวัน และนครดานังยังมีแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติอีกมากมายที่ยังไม่ถูกค้นพบ
- นครดานังมีพื้นที่สำหรับการทำป่าไม้ 67,147 เฮกตาร์ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้พิเศษ 22,745เฮกตาร์
พื้นที่รักษาพันธุ์ป่าไม้ 20,895 เฮกตาร์ และพื้นที่ป่าไม้สำหรับอุตสาหกรรม 23,508 เฮกตาร์
นิคมอุตสาหกรรมในนครดานัง
ชื่อ |
พื้นที่ |
พื้นที่ให้เช่า |
พื้นที่ถูกเช่าแล้ว |
พื้นที่ยังว่างให้เช่า |
นิคมอุตสาหกรรมนครดานัง |
50.1 เฮกตาร์ |
41.87 เฮกตาร์ |
41.87 เฮกตาร์ |
0 เฮกตาร์ |
นิคมอุตสาหกรรมหว่าแก๊ง |
394 เฮกตาร์ |
303.93 เฮกตาร์ |
303.93 เฮกตาร์ |
0 เฮกตาร์ |
นิคมอุตสาหกรรมเลียนเฉียว |
289.35 เฮกตาร์ |
170.86 เฮกตาร์ |
111.05 เฮกตาร์ |
59.81 เฮกตาร์ |
นิคมอุตสาหกรรมการให้บริการและผลิตภัณฑ์ทางทะเล |
50.63 เฮกตาร์ |
45.72 เฮกตาร์ |
45.12 เฮกตาร์ |
0.6 เฮกตาร์ |
นิคมอุตสาหกรรมหว่าเกิ่ม |
149.84 เฮกตาร์ |
107.07 เฮกตาร์ |
94.93 เฮกตาร์ |
12.14 เฮกตาร์ |
นิคมอุตสาหกรรมหว่าแก๊งส่วนต่อขยาย |
132.6 เฮกตาร์ |
108.65 เฮกตาร์ |
80.61 เฮกตาร์ |
28.04 เฮกตาร์ |
เขตอุตสาหกรรมทั้ง 6 แห่งตั้งอยู่นอกเขตตัวเมืองนครดานังไม่เกิน 15 กิโลเมตร พื้นที่รวมทั้งหมด
1,066.52 เฮกตาร์ ในปัจจุบันมีโครงการด้วยกันทั้งหมด 419 โครงการ เป็นโครงการลงทุนภายในประเทศ
319 โครงการและโครงการลงทุนจากต่างประเทศ 100 โครงการ สร้างงานให้กับประชาชนท้องที่และรอบตัวเมืองมากกว่า 74,000 คน นอกเหนือจาก ทั้ง 6 เขตอุตสาหกรรมนี้แล้วยังมีเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดานัง
ที่มีพื้นที่กว่า 1,129.76 เฮกตาร์
รายชื่อบริษัทไทยที่ลงทุนในนครดานัง
1. บริษัท Trung Tam Metro Cash & Carry ด้วยชื่อโครงการ Trung Tam Mega Market Da Nang ห้างสรรพสินค้า มีมูลค่าทุนจดทะเบียน 8,848,321 ดอลลาร์สหรัฐ
2. บริษัท TNHH T.L.I Viet Nam ด้วยชื่อโครงการ T.L.I Viet Nam เป็นบริษัทรับก่อสร้าง ดูแลสนามกอล์ฟ สระว่ายน้ำ และปรับปรุงภูมิทัศน์ของพื้นที่ มีมูลค่าทุนจดทะเบียน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
3. บริษัท TNHH Apple Film Da Nang เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์ที่ทำจากพลาสติก มีมูลค่าทุนจดทะเบียน 10,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ
4. ร้านอาหารไทย Kin Kin/ ร้านอาหารไทย Somtum Bistro
5. บริษัท Thai Viet Swine Line เฉือดและจัดจำหน่ายเนื้อสุกรในนครดานังและจังหวัดใกล้เคียง โดยมีสำนักงานที่นครดานัง และฟาร์มเลี้ยงสุกรในจังหวัดกว๋างหง่าย โรงงานผลิตอาหารสัตว์ในจังหวัดกว๋างนาม
6. บริษัท Dubbing Plaster and Chemicals นำเข้าและจัดจำหน่ายพลาสเตอร์และสารเคมีอุตสาหกรรมสี
7. บริษัท SS Inter Vietnam นำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องจักรการเกษตร เช่น เครื่องตัดอ้อย
8. สำนักงานสายการบินบางกอกแอร์เวย์
แรงจูงใจที่รัฐบาลใช้เพื่อดึงดูดนักลงทุน
อุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง
อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ
อุตสาหกรรมรอง
การเกษตรเทคโนโลยีขั้นสูง
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตอุตสาหกรรมหรือการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม
การลงทุนในภาครัฐ
อีเมลสถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์
ติดต่อทั่วไป
แผนกเศรษฐกิจ
แผนกกงสุล (หนังสือเดินทาง, นิติกรณ์และทะเบียนราษฎร์, บัตรประชาชน, การตรวจลงตราและรับรองเอกสาร)